กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/432
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการพัฒนาสถานีอนามัยของจังหวัดนครศรีธรรมราช ในโครงการทศวรรษแห่งการพัฒนาสถานีอนามัย
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมศักดิ์ บุตราช
อมตา จันทร์ปาน, 2513-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
พรทิพย์ เกยุรานนท์
สุรพล ทรัพย์แก้ว
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
โครงการทศวรรษแห่งการพัฒนาสถานีอนามัย
สถานีอนามัย--ไทย--นครศรีธรรมราช
วันที่เผยแพร่: 2545
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านบุคคล ด้านการบริหารงาน และด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน กับผลการพัฒนาสถานีอนามัยของจังหวัดนครศรีธรรมราช และ (2) ศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยด้านบุคคล ด้านการบริหารงาน และด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน ระหว่างสถานีอนามัยที่พัฒนาสำเร็จกับสถานีอนามัยที่พัฒนาไม่สำเร็จ ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ประชากรที่ศึกษามี 2 กลุ่ม คือ สถานีอนามัยที่พัฒนาสำเร็จ 10 แห่ง และสถานีอนามัยที่พัฒนา ไม่สำเร็จ ตามเกณฑ์ประเมินผลของชมรมสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยสถานีอนามัยที่พัฒนาไม่สำเร็จ ใช้ตัวอย่างที่ถูกสุ่มมาจำนวน 20 แห่ง เก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรทุกคนที่ปฏิบัติงานในสถานีอนามัยที่ศึกษา จํานวน 70 คน โดยใช้แบบสอบถามและแบบบันทึกรายการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ไคสแควร์ การทดสอบค่าที และการทดสอบแมนนวิทนีย์ ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการพัฒนาสถานีอนามัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ปัจจัยด้านบุคคล ในเรื่องการอบรมดูงานเรื่องทศวรรษแห่งการพัฒนาสถานีอนามัย และแรงจูงใจด้านสภาพการทำงาน ปัจจัยด้านการบริหารงานในเรื่องกระบวนการบริหารทุกด้าน แต่ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนไม่มีความสัมพันธ์กับผลการพัฒนาสถานีอนามัย (2) ปัจจัยที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ระหว่างสถานีอนามัยที่พัฒนาสำเร็จกับพัฒนาไม่สำเร็จ ได้แก่ ปัจจัยด้านบุคคล โดยสถานีอนามัย บุคลากรได้รับการอบรมดูงานเรื่องทศวรรษแห่งการพัฒนาสถานีอนามัยได้พัฒนาสถานีอนามัยสำเร็จมากกว่าสถานีอนามัยที่บุคลากร ไม่ได้รับการอบรมดูงาน และบุคลากรของสถานีอนามัย พัฒนาสำเร็จ มีแรงจูงใจด้านสภาพการทำงานมากกว่าบุคลากรของสถานีอนามัยที่พัฒนาไม่สำเร็จ ปัจจัยด้านการบริหารงาน โดยอัตรากำลังของสถานีอนามัยที่พัฒนาสําเร็จมีมากกว่าสถานีอนามัยที่พัฒนาไม่สําเร็จ และสถานีอนามัยที่พัฒนาสำเร็จมีกระบวนการบริหารทุกด้าน กว่าสถานีอนามัยที่พัฒนาไม่สำเร็จ และประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสถานีอนามัย ไม่แตกต่างกันระหว่างสถานีอนามัยทีพัฒนาสำเร็จกับสถานีอนามัยที่พัฒนาไม่สําเร็จ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2545
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/432
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
77210.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.65 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons