Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4347
Title: ข้อจำกัดสิทธิการฟ้องคดีต่อศาลปกครองของคำสั่งลงทัณฑ์ทางวินัยทหาร
Other Titles: The rights restrictions in prosecution about the penalty of the military disciplie to the administration court
Authors: สุรีรัตน์ ประจนปัจจนึก, อาจารย์ที่ปรึกษา
วัชรพงษ์ โพธิ์ช่วย, 2531-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
ศาลปกครอง--การพิจารณาและตัดสินคดี
วิธีพิจารณาคดีปกครอง
ทหาร--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระ เรื่อง ข้อจำกัดสิทธิการฟ้องคดีต่อศาลปกครองของคำสั่งลงทัณฑ์ทางวินัยทหารมีวัตถประสงค์เพื่อศึกษาเหตุผลที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง พ.ศ. 2552 ได้บัญญัติมีให้การดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหารเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง และศึกษาถึงข้อจำกัดสิทธิการดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหารเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองว่ามีผลกระทบต่อข้าราชการทหารอย่างไร เพี่อนำไปเป็นข้อมูลและนำผลจากการศึกษาค้นคว้าเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำหรับนำไปประกอบการพิจารณา เป็นแนวทางในการแก้ไขพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธิพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2552 การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ เป็นการวิจัยทางนิติศาสตร์ โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาค้นคว้าและวิเคราะห์เอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ตำรา บทความทางวิชาการ วิทยานิพนธ์ และบทบัญญัติทางกฎหมาย ผลจากการศึกษาพบว่า ศาลปกครองประเทศเยอรมนี และศาลปกครองประเทศฝรั่งเศสมีได้บทบัญญัติจำกัดสิทธิดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่า คำสั่งลงทัณฑ์ทางวินัยของทหาร เป็นการทำลายความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ กับข้าราชการทหารผู้นั้นย่อมอยู่ในอำนาจของศาลปกครองที่เป็นศาลเฉพาะด้านเข้าไปมีอำนาจตรวจสอบการใช้อำนาจเหล่านั้นของผู้บังคับบัญชาทหารได้ในประเทศไทยการที่ศาลปกครองมีบทบัญญัติจำกัดสิทธิดังกล่าว เนื่องจากคณะกรรมการร่างกฎหมายมีความเห็นว่าอำนาจบังคับบัญชาของทหารมีความแตกต่างจากข้าราชการอื่น เนื่องจากทหารเป็นผู้ถืออาวุธที่รุนแรงอยู่ในมือ ซึ่งไม่พบในข้าราชการประเภทอื่น หากทหารถืออาวุธนั้นในทางมิชอบสภาพกองทัพก็ไม่ต่างจากโจรที่ยากจะควบคุม ประกอบกับทหารมีภารกิจหลักในการรักษาความมั่นคงของประเทศ ทหารจึงจำต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตนตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาอย่างเคร่งครัดโดยเฉพาะในยามสงครามสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึกส่งผลให้คดีที่เกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยทหารอยู่ในศาลยุติธรรมทั่วไปซึ่งไม่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในคดีปกครองอีกทั้งรูปแบบการพิจารณาคดีที่เป็นระบบกล่าวหาไม่เหมาะกับการพิจารณาคดีทางปกครอง แม้เป็นศาลทหารก็ไม่มีอำนาจวินิจฉัยเรื่องดังกล่าวเนื่องจากศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาเท่านั้น อีกทั้งรูปแบบและองค์คณะก็ไม่เหมาะสมที่จะพิจารณาคดี อันเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยทหารเฉกเช่นศาลยุตธรรมทั่วไป การที่ให้คดีเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยทหารอยู่ในอำนาจศาลยุติธรรมทั่วไปย่อมเป็นการจำกัดสิทธิของทหารทำให้ทหารไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิอย่างเพียงพอและเหมาะสมเมี่อเทียบกับต่างประเทศผู้วิจัยจึงขอเสนอให้ยกเลิก มาตรา 9 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ที่มิให้การดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหาร เป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง เป็นให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยทหาร เพี่อให้สอดคล้องกับประเทศเยอรมันและฝรั่งเศสและทำให้ทหารได้รับการการคุ้มครองสิทธิอย่างเพียงพอ เหมาะสม
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4347
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม46.55 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons