Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4351
Title: การแบ่งส่วนความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
Other Titles: Tort liability proportion of Local Administrative Organization Officials
Authors: เสาวนีย์ อัศวโรจน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
วัชราภรณ์ กุลศิริ, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
ละเมิด
องค์การบริหารส่วนตำบล--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการแบ่งส่วนความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเสนอแนวทางพัฒนากฎหมายระเบียบ วิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง และเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมในการกำหนดสัดส่วนความรับผิดทางละเมิดเจ้าหน้าที่ของรัฐให้ถูกต้องเหมาะสมและเป็นธรรม การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีวิจัยเอกสารโดยศึกษาจากคำสั่งศาลปกครองสูงสุด แนวคำวินิจฉัยคณะกรรมการต่าง ๆ และเอกสารในประเทศไทย และต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ตลอดจนระเบียบ แนวทาง หนังสือสั่งการของทางราชการที่เกี่ยวข้องกับการแบ่งส่วนความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยและตัวแปรที่ศาลนามากำหนดสัดส่วนความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ พฤติการณ์และวิสัยของเจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิด ระดับความร้ายแรงแห่งการกระทำ โดยหน่วยงานของรัฐไม่จำต้องได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเต็มจำนวนความเสียหาย และการมีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายของหน่วยงานรัฐ ตลอดจนความแน่นอนของความเสียหายและมูลค่าทรัพย์ที่แท้จริงในขณะกระทำละเมิด จากการศึกษายังพบว่า การแบ่งส่วนความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่เพื่อกำหนดจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่เจ้าหน้าที่แต่ละคนต้องชดใช้ เป็นเรื่องของดุลพินิจ ซึ่งยังมีความแตกต่างกันในการใช้ดุลพินิจของแต่ละหน่วยงานมิได้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และพบว่าคำสั่งให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่ยังไม่ผ่านการพิจารณาของกระทรวงการคลังเป็นคำสั่งที่ยังไม่มีความชัดเจนแน่นอน ไม่ถูกต้องตามเงื่อนไขเกี่ยวกับเนื้อความของคำสั่งทางปกครอง ทำให้การพิจารณาอุทธรณ์ตามกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองเป็นการสร้างขั้นตอนที่ไม่มีความจำเป็น จึงควรกำหนดระยะเวลาในการพิจารณาให้มีความชัดเจน และกำหนดขั้นตอนการอุทธรณ์การแบ่งส่วนความรับผิดไว้โดยเฉพาะ เพื่อลดความล่าช้าในการดำเนินการและให้ความยุติธรรมแก่เจ้าหน้าที่ให้มากที่สุด
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4351
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม36.66 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons