Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4366
Title: | การเพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน |
Other Titles: | Revocation of land rights documents under Thai law |
Authors: | วิกรณ์ รักษ์ปวงชน วุฒิชัย จันทรจุติ, 2533- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี กรรมสิทธิ์ที่ดิน--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเป็นมา แนวคิดเกี่ยวกับการออกและการเพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน และหลักการทางทะเบียนที่ดิน (2) ศึกษาหลักเกณฑ์การเพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินตามกฎหมายไทยและต่างประเทศ (3) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและผลกระทบจากการเพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน และ (4) หาแนวทางแก้ไขปัญหาและเสนอแนะในการวางหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการเพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินและการช่วยเหลือบุคคลที่ได้รับความเสียหายจากการเพิกถอนดังกล่าว ให้มีความเหมาะสมและเกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาวิจัยทางด้านเอกสารเป็นหลักจากคำอธิบายกฎหมาย งานวิจัย วิทยานิพนธ์ หนังสือเรียน บทความทางวิชาการ ทั้งของประเทศไทยและของต่างประเทศ วารสาร เอกสารเผยแพร่ ข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ คำพิพากษาของศาลฎีกาและศาลปกครองสูงสุดในส่วนที่เกี่ยวข้อง ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาและสังเกตปัญหาจากการที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในกรมที่ดิน รวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า (1) ประเทศไทยได้นำระบบทะเบียนที่ดินแบบ Registration of title มาใช้เพียงบางส่วน (2) การเพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินเป็นไปตามมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน กำหนดให้เมื่อมีการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายต้องดำเนินการเพิกถอนเพื่อให้ถูกต้องตามความเป็นจริงถือเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทำ (3) การใช้อำนาจตามมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ก่อให้เกิดผลกระทบในด้านสิทธิของบุคคล หน่วยงานภาครัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตลอดจนเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง (4) กำหนดให้มีการจำกัดอำนาจในการเพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่ออกไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและมีลักษณะเป็นอำนาจดุลพินิจ มุ่งคำนึงถึงความเชื่อโดยสุจริตของผู้รับคำสั่งในความคงอยู่ของคำสั่งทางปกครองกับประโยชน์สาธารณะประกอบกัน และนำระบบเยียวยาความเสียหายโดยการจัดตั้งกองทุนประกันความเสียหายมาใช้ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4366 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.35 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License