Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4371
Title: | การนำมาตรการกำจัดสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งมาใช้กับศาลปกครองไทย |
Other Titles: | Application of the restriction of right to appeal of judgements or orders to the administrative Court of Thailand |
Authors: | สิริพันธ์ พลรบ ศตวรรษ ลีซ้าย, 2521- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี คำพิพากษาศาล ศาลปกครอง อุทธรณ์ การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง “การนำมาตรการจำกัดสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งมาใช้กับศาลปกครองไทย” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวความคิดพื้นฐานของการอุทธรณ์ คำพิพากษาหรือคำสั่งศาล การอุทธรณ์และฎีกาในศาลปกครองต่างประเทศและการอุทธรณ์และวิธีพิจารณาอุทธรณ์ในศาลปกครองไทย ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและผลกระทบจากการไม่มีมาตรการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่ง และเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา จากการไม่มีมาตรการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองไทย การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิจัยเอกสารจากแนวคิดทฤษฎี บทบัญญัติของกฎหมาย และคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองสูงสุด รวมทั้งข้อมูลต่าง ๆ จากตำรา บทความทางวิชาการ งานวิจัย หรือวิทยานิพนธ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าอิสระในครั้งนี้ ผลการศึกษาพบว่า การที่ศาลปกครองไทยไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายในการจำกัดสิทธิอุทธรณ์หรือคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น ทำให้เกิดปัญหาคดีล้นศาล ปัญหาความล่าช้าในการพิจารณาคดี ปัญหาคดีที่ขึ้นสู่ศาลปกครองสูงสุดที่ไม่ควรแก่การได้รับการวินิจฉัย และปัญหาคู่ความใช้สิทธิอุทธรณ์เพื่อประวิงเวลาในการบังคับคดี เมื่อวิเคราะห์ปัญหา ประกอบกับข้อดีข้อเสียแล้ว การนำมาตรการจำกัดสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งมาใช้กับศาลปกครองไทย จะเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ โดยจำกัดสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงและในปัญหาข้อเท็จจริงที่มีราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ แต่ต้องมีข้อยกเว้นในเรื่องประโยชน์สาธารณะ หรือตุลาการที่นั่งพิจารณาคดีรับรอง หรืออธิบดีศาลปกครองชั้นต้นอนุญาต ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อสิทธิของคู่กรณีและสังคมโดยรวม |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4371 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 10.57 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License