กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4410
ชื่อเรื่อง: | การเปรียบเทียบการบริหารจัดการตามแนวทางทศพิธราชธรรม ระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบลในคลองบางปลากดกับองค์การบริหารส่วนตำบลบางกระสอบ ในจังหวัดสมุทรปราการ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Comparison of management administration according to the Ten Perfections Guideline between the Naiclongbangplakod and the Bangkrasob Subdistrict Administrative Organizations in Samuthprakarn Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วิรัช วิรัชนิภาวรรณ เนตรดาว จิระกิจ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ศิรินทร์ ธูปกล่ำ |
คำสำคัญ: | องค์การบริหารส่วนตำบลคลองบางปลากด--การบริหาร องค์การบริหารส่วนตำบลบางกระสอบ--การบริหาร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์ ทศพิธราชธรรม |
วันที่เผยแพร่: | 2550 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบ (1) การบริหารจัดการ (2) ปัญหา และ (3) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการตามแนวทางทศพิธราชธรรมระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบลในคลองบางปลากดกับองค์การบริหารส่วนตำบลบางกระสอบในจังหวัดสมุทรปราการโดยนำ ปัจจัยที่มีส่วนส่าคัญต่อการบริหารจัดการตามแนวทางทศพิธราชธรรม ชึ่งประกอบด้วย 10 ประการ มาเป็นกรอบแนวคิดในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ การให้ทาน การรักษาศิล การบริจาค ความชื่อตรง ความอ่อนโยน ความเพียร ความไม่โกรธ ความไม่เบียดเบียน ความอดทน และความเที่ยงธรรม การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิชัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามชื่งผ่านการทดสอบ รวมทั้งผ่าน การหาค่าความเที่ยงตรง และความเชื่อถือได้ของแบบสอบถามที่ระดับ 0.90 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบล และประชาชนในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลทั้ง 2 แห่ง รวม 1,272 คน กลุ่มตัวอย่างดังกล่าวนี้ได้ตอบแบบสอบถาม และเก็บรวบรวมแบบสอบถามกลับคืนมาได้ 1,247 คน เท่ากับร้อยละ 98.03 ของแบบสอบถามที่แจกออกไปทั้งหมด (1,272 คน) ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้ใช์คอมพิวเตอร์โดยสถิติที่นำมาใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย คำเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการศึกษาปรากฎว่า (1) กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยในระดับปานกลาง ว่า ในภาพรวม องค์การบริหารส่วนตำบลทั้ง 2 แห่งมีการบริหารจัดการตามแนวทางทศพิธราชธรรมสูงทั้ง 10 ประการ (2) สำหรับปัญหาที่สำคัญ คึอ บุคลากรบางส่วนในองค์การบริหารส่วนตำบลปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามระเบียบกฎเกณฑ์ที่ตั้งไวั และบางคนใช้เวลาเพื่อกิจกรรมส่วนตัว (3) สำหรับแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการ คือ องค์การบริหารส่วนตำบลทั้ง 2 แห่ง ควรฝึกอบรมผู้บริหารทุกระดับในเรื่องความสำคัญของการบริหารจัดการตามแนวทางทศพิธราชธรรม ในเวลาเดียวกัน ผู้บริหารควรทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีและควรนำการบริหารจัดการตามแนวทางทศพิธราชธรรมไปปรับใชัในองค์การบริหารส่วนตำบลด้วย |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4410 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
105706.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.87 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License