Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4466
Title: สิทธิในสุขภาพของคนไร้สัญชาติ ตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพ พ.ศ. 2545
Other Titles: Legal issues about the right to Health of Stateless, Stateless Person under article 5 of the National Health Security Act B.E 2545
Authors: วิมาน กฤตพลวิมาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมใจ สุดจิต, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
สิทธิการรักษาพยาบาล
คนไร้สัญชาติ--ไทย
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระ เรื่อง สิทธิในสุขภาพของคนไร้สัญชาติ ตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัญหาการเข้าถึงสิทธิในสุขภาพตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ของคนไร้สัญชาติในประเทศไทย เพื่อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวกับพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ให้มีความครอบคลุมกลุ่มคนดังกล่าวมากขึ้น การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพโดยค้นคว้า รวบรวมข้อมูลจากตัวบทกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง วารสารทางกฎหมาย บทความต่าง ๆ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับสิทธิ และความครอบคลุมตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 และจากประสบการณ์การทำงานของผู้ศึกษาเอง ผลการศึกษาพบว่า จากการบังคับใช้พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ทำให้กลุ่มคนจำนวนหนึ่งที่อยู่อาศัยในประเทศไทยมาเป็นเวลาช้านานแต่มีปัญหาในเรื่องเกี่ยวกับสถานะของบุคคล ที่ต้องรอการพิสูจน์สัญชาติจากภาครัฐ ถูกจำกัดสิทธิในการเข้าถึงสิทธิในสุขภาพในการรักษาพยาบาล การส่งเสริมฟื้นฟูสภาพ และการป้องกันโรค อันถือว่าเป็นสิทธ์มนุษยชนขั้นพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนพึ่งได้รับ ซึ่งสาเหตุการถูกจำกัดสิทธิดังกล่าว ส่วนหนึ่งมาจากความไม่ชัดเจน และการตีความในข้อกฎหมายในมาตรา 5 ของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ว่าด้วยการกำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิในการขอขึ้นทะเบียนขอรับบริการสาธารณสุข ซึ่งกำหนดว่าต้องเป็นบุคคล ผู้มีสัญชาติไทย และมีเลขประจำตัวประชาชน หรือเลข 13 หลักเท่านั้น จึงทำให้กลุ่มบุคคลไร้สัญชาติ ดังกล่าวไม่สามารถเข้าถึงสิทธิตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ได้เต็มสิทธิ ได้เพียงการสงเคราะห์เป็นการเฉพาะราย ส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการงบประมาณของโรงพยาบาลรัฐที่เป็นผู้ให้บริการเกิดการขาดสภาพคล่องตามมา ดังนั้นเพื่อความเป็นธรรม และความเสมอภาคอันเป็นหลักการพื้นฐานของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ นั้นจึงสมควรต้องได้รับการแก้ไขปรับปรุงการจำกัดสิทธิดังกล่าวที่ผูกติดกับสัญชาติของบุคคลเป็นสำคัญ เปลี่ยนเป็นยึดหลักการอยู่อาศัย และการทำงาน หรือกำหนดรูปแบบหลักประกันสุขภาพทางเลือกเช่นเดียวกับแรงงานต่างด้าว อันส่งผลต่อการเข้าถึงสิทธิในสุขภาพของกลุ่มคนไร้สัญชาติในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น เด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ ได้เข้าถึงบริการทางด้านสาธารณสุขทีมีคุณภาพ และมีมาตรฐานเช่นเดียวกับคนไทยโดยทั่วไป
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4466
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม25.97 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons