Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4491
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารความเสี่ยงตามทฤษฎีกับกระบวนการบริหารความเสี่ยงตามนโยบาย ของกระทรวงศึกษาธิการด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษาประถมศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
Other Titles: | Relationship between theory-based risk management practice and risk management process based on ministry of education policy on the use of information technology in primary schools in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province |
Authors: | สฤษดิ์พงษ์ ลิมปิษเฐียร พิมพ์ทิพย์ ปัญญาบุญ, 2531- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี การบริหารความเสี่ยง การศึกษาขั้นประถม--การบริหารความเสี่ยง--ไทย--พระนครศรีอยุธยา การศึกษาขั้นพื้นฐาน--การบริหารความเสี่ยง--ไทย--พระนครศรีอยุธยา การศึกษาขั้นประถม--เทคโนโลยีสารสนเทศ--การบริหารความเสี่ยง การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพี่อ (1) ศึกษาการบริหารความเสี่ยงตามทฤษฏีของสถานศึกษาในด้านการใช้เทคโนโลยีสาร สนเทศในสถานศึกษาประถมศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (2) ศึกษากระบวนการบริหารความเสี่ยงตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษาประถมศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารความเสี่ยงตามทฤษฏีกับกระบวนการบริหารความเสี่ยงตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการด้านการใช้เทฅโนโลยสารสนเทศในสถานศึกษาประถมศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยากลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ให้ข้อมูล เป็นผู้บริหารสถานศึกษาประถมศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และครูผู้สอนหรีอครูที่ทำหน้าที่รับผิดชอบงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของสถานศึกษาประถมศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 246 คน เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงตามทฤษฏี และแบบสอบถามกระบวนการบริหารความเสี่ยงตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ชี่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .97 และ .98 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สันผลการวิจัยปรากฏว่า (1) การบริหารความเสี่ยงตามทฤษฏีด้านการใช้เทคโนโลยสารสนเทศในสถานศึกษาประถมศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยรวมอยู่ในระดับมักจะเป็นจริง ขณะที่การพิจารณาเป็นรายด้านมีผลเรียงตามลำดับดังนี้ การควบคุมความเสี่ยง การกำจัดความเสี่ยง การยอมรับความเสี่ยง และการถ่ายโอนความเสี่ยง (2) กระบวนการบริหารความเสี่ยงตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษาประถมศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยรวมอยู่ในระดับมักจะเป็นจริง และเมื่อพิจารณา เป็นรายด้านเรียงตามลำดับได้ดังนี้ การกำหนดวัตถุประสงค์ การรายงานและติดตามผล การระบุความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยง และการจัดการและจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง และ (3) การบริหารความเสี่ยงตามทฤษฏีกับกระบวนการบริหารความเสี่ยงตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการด้านการใช้เทคโนโลยสารสนเทศในสถานศึกษาประถมศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีความสัมพันธ์กันทางบวกทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4491 |
Appears in Collections: | Edu-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
full_text154901.pdf | 3.78 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License