Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/450
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอดิศักดิ์ สัตย์ธรรม, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorสมโภช รติโอฬาร, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorเพียงจันทร์ เศวตรศรีสกุล, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorบุญมา สุนทราวิรัตน์, 2514--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-08-10T11:38:23Z-
dc.date.available2022-08-10T11:38:23Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/450-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2545th_TH
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานการณ์การบริหารจัดการงบประมาณดำเนินการขององค์การบริหารส่วนตำบลสำหรับภารกิจด้านสุขภาพ ในพื้นที่จังหวัดเลย ในปีงบประมาณ 2544 ประชากรที่ศึกษาคือองค์การบริหารส่วนตำบลโดยให้ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นตัวแทนการศึกษาใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนา และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลทำโดยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย และร้อยละ การศึกษาพบว่าในส่วนกระบวนการงบประมาณ มีที่มาของเงินงบประมาณร้อยละ 90.59 จากเงินงบประมาณโดยการจัดสรรจากรัฐบาลกลาง (กระทรวงมหาดไทย) ในประเด็นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำข้อบังคับงบประมาณรายจ่าย พบว่าประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในระดับหมู่บ้านและตำบลสูงถึงร้อยละ 82.70 และ 81.50 ตามสำคับ ในสถานการณ์การบริหารจัดการงบประมาณในภารกิจด้านสุขภาพ พบว่าการจัดสรรงบประมาณเป็นไปในสัดส่วนที่ไม่สอดคลองกับสภาพปัญหาสาธารณสุข มีการจัดสรรเงินสนับสนุนภารกิจด้านสุขภาพเพียงร้อยละ 1.30 ของงบประมาณรายจ่ายในขณะที่พบการระบาดของโรคเล็ปโตสไปโรซิสและไข้เลือดออกที่ค่อนข้างสูงในทุกพื้นที่ อบต. งบประมาณส่วนใหญ่ใช้ไปในแผนงานบริหาร ร้อยละ 37.20 แผนงานเคหะชุมชน ร้อยละ 32.76 และแผนงานอุตสาหกรรม และโยธา ร้อยละ 9.47 สำหรับปัญหาอุปสรรคในการบริหารงบประมาณ พบว่า อบต. ร้อยละ 55.60 ประสบปัญหาการจัดซื้อนม สืบเนื่อง งบประมาณโครงการถ่ายโอนจากกระทรวงสาธารณสุข ในการจัดหาอาหารเสริมนมแก่นักเรียนมีไม่เพียงพอหรือล่าช้า โดย อบต. ร้อยละ 84.0 ที่ประสบปัญหาการจัดซื้อนมมีร้อยละ 88.20 ประสบปัญหาการผูกขาดเนื่องจากการแบ่งเขตการขายของผู้ประกอบการ ส่วนปัญหาที่ อบต. ประสบอยู่พบว่าปัญหางบประมาณมีไม่เพียงพอหรือล่าช้าในระดับมาก ค่าเฉลี่ยคะแนน 3.54 และปัญหาความรู้ของสมาชิก อบต. ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยคะแนน 3.84 จากการศึกษามีข้อเสนอแนะหลักที่สำคัญว่า ในกระบวนการงบประมาณทุกขั้นตอนนั้น ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และประชาชน ควรเป็นบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถและมีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาท้องถิ่น มีการนำเสนอปัญหาของท้องถิ่นอย่างเปิดกว้างและชัดเจนให้ผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจ ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง เป็นจริงเพื่อการมองปัญหาได้ครอบคลุม ทำให้การจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานตามแผนงานอย่างสมเหตุสมผลสามารถแก้ไขปัญหาของถิ่นได้อย่างเหมาะสมth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectองค์การบริหารส่วนตำบล--การบริหารth_TH
dc.subjectองค์การบริหารส่วนตำบล--ไทย--เลยth_TH
dc.subjectงบประมาณth_TH
dc.titleสถานการณ์การบริหารจัดการงบประมาณดำเนินการขององค์การบริหารส่วนตำบลในภารกิจด้านสุขภาพ จังหวัดเลยth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe thesis aimed to study the situation of budget management for health care service at Tambol administration organization (TAO) in Loei province during budget year 2001. The population of this thesis was TAO using Chief Administrators as proxies. Descriptive research design was employed using interview questionnaires as research instrument. Data analysis was performed by frequency distribution, mean and percentage. The study result was found that in the budget process 90.59 % of the budget was allocated from the central government (Ministry of Interior). On the people participation it was found that in the village and Tambol the level of the participation in the making of budget proposal was true at high level (82.70 % and 81.50 % respectively). A situation of budget management for health care service it was found that the budget allocation was not in accordance with health problems. Only 1.30 % of the total budget was allocated for health care service despite the high epidemic prevalence of some communicable disease such as Leptospirosis and Dengue Hemorrhagic fever (DHF) in every TAO responsible areas. Most of the budget was allocated to General Administration Plan (37.20 %), Housing Plan (32.70 %), and Industry and Public Work Plan (9.47 %). On the budget management problem, it was found that the budget under the Ministry of Public Health to be transferred to TAO in the Milk Supplementary Program was not sufficient or untimely during transmission period of time from ministry of public health such as fresh milk to primary school's students supported program were not enough or lately budget support 55.60 %, process of purchasing 84.00 %.(88.2 % of TAO had problem from monopolize market by dealer). Overview problem in TAO were found the budget were not enough or lately in high level (mean 3.54) and knowledge of TAO members in high level (mean 3.84)en_US
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
77540.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.29 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons