กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/450
ชื่อเรื่อง: สถานการณ์การบริหารจัดการงบประมาณดำเนินการขององค์การบริหารส่วนตำบลในภารกิจด้านสุขภาพ จังหวัดเลย
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อดิศักดิ์ สัตย์ธรรม, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมโภช รติโอฬาร, อาจารย์ที่ปรึกษา
เพียงจันทร์ เศวตรศรีสกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
บุญมา สุนทราวิรัตน์, 2514-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
องค์การบริหารส่วนตำบล--การบริหาร
องค์การบริหารส่วนตำบล--ไทย--เลย
งบประมาณ
วันที่เผยแพร่: 2545
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานการณ์การบริหารจัดการงบประมาณดำเนินการขององค์การบริหารส่วนตำบลสำหรับภารกิจด้านสุขภาพ ในพื้นที่จังหวัดเลย ในปีงบประมาณ 2544 ประชากรที่ศึกษาคือองค์การบริหารส่วนตำบลโดยให้ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นตัวแทนการศึกษาใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนา และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลทำโดยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย และร้อยละ การศึกษาพบว่าในส่วนกระบวนการงบประมาณ มีที่มาของเงินงบประมาณร้อยละ 90.59 จากเงินงบประมาณโดยการจัดสรรจากรัฐบาลกลาง (กระทรวงมหาดไทย) ในประเด็นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำข้อบังคับงบประมาณรายจ่าย พบว่าประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในระดับหมู่บ้านและตำบลสูงถึงร้อยละ 82.70 และ 81.50 ตามสำคับ ในสถานการณ์การบริหารจัดการงบประมาณในภารกิจด้านสุขภาพ พบว่าการจัดสรรงบประมาณเป็นไปในสัดส่วนที่ไม่สอดคลองกับสภาพปัญหาสาธารณสุข มีการจัดสรรเงินสนับสนุนภารกิจด้านสุขภาพเพียงร้อยละ 1.30 ของงบประมาณรายจ่ายในขณะที่พบการระบาดของโรคเล็ปโตสไปโรซิสและไข้เลือดออกที่ค่อนข้างสูงในทุกพื้นที่ อบต. งบประมาณส่วนใหญ่ใช้ไปในแผนงานบริหาร ร้อยละ 37.20 แผนงานเคหะชุมชน ร้อยละ 32.76 และแผนงานอุตสาหกรรม และโยธา ร้อยละ 9.47 สำหรับปัญหาอุปสรรคในการบริหารงบประมาณ พบว่า อบต. ร้อยละ 55.60 ประสบปัญหาการจัดซื้อนม สืบเนื่อง งบประมาณโครงการถ่ายโอนจากกระทรวงสาธารณสุข ในการจัดหาอาหารเสริมนมแก่นักเรียนมีไม่เพียงพอหรือล่าช้า โดย อบต. ร้อยละ 84.0 ที่ประสบปัญหาการจัดซื้อนมมีร้อยละ 88.20 ประสบปัญหาการผูกขาดเนื่องจากการแบ่งเขตการขายของผู้ประกอบการ ส่วนปัญหาที่ อบต. ประสบอยู่พบว่าปัญหางบประมาณมีไม่เพียงพอหรือล่าช้าในระดับมาก ค่าเฉลี่ยคะแนน 3.54 และปัญหาความรู้ของสมาชิก อบต. ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยคะแนน 3.84 จากการศึกษามีข้อเสนอแนะหลักที่สำคัญว่า ในกระบวนการงบประมาณทุกขั้นตอนนั้น ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และประชาชน ควรเป็นบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถและมีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาท้องถิ่น มีการนำเสนอปัญหาของท้องถิ่นอย่างเปิดกว้างและชัดเจนให้ผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจ ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง เป็นจริงเพื่อการมองปัญหาได้ครอบคลุม ทำให้การจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานตามแผนงานอย่างสมเหตุสมผลสามารถแก้ไขปัญหาของถิ่นได้อย่างเหมาะสม
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2545
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/450
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
77540.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.29 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons