Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4520
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorภัฏฐิญา สิริบวรพิพัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorสาโรจน์ ยอดประดิษฐ์, 2514--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-03-16T08:20:58Z-
dc.date.available2023-03-16T08:20:58Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4520-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายในการควบคุมสถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพของประเทศไทย ศึกษา วิเคราะห์ปัญหามาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมสถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพ และเพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาและเสนอให้มีการปรับปรุงแก้ไขหรือยกร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมสถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพ สำหรับการศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาโดยวิธีวิจัยเอกสาร (Documentary Research) โดยทำการศึกษาวิเคราะห์แหล่งข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งหนังสือ บทความ วิทยานิพนธ์ เอกสาร งานวิจัยและข้อมูลจากสิ่งพิมพ์อิเลคโทรนิคทางเว็บไซต์ต่าง ๆ รวมทั้งกฎหมาย กฎ ระเบียบ เพื่อค้นหาสภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ จากการศึกษาพบว่ามาตรการทางกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายในการควบคุมสถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพ ทั้งในส่วนของกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขและกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ มีปัญหาความซ้ำซ้อนของมาตรการทางกฎหมายระหว่างทั้ง 2 ฉบับ ซึ่งการแก้ไขบทนิยามในมาตรา 3 (3) (ข) แห่งพระราชบัญญัติสถานบริการ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2546 กำหนดให้ออกกฎหมายลำดับรองซึ่งไปซ้ำซ้อนกับกฎหมายว่า ด้วยการสาธารณสุขที่ให้อำนาจในการออกกฎหมายลำดับรองได้เช่นกัน โดยการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการนั้นเป็นการออกมาตรฐานและการออกใบรับรองในภาพกว้าง ซึ่งไม่สามารถใช้มาตรการบังคับให้ผู้ประกอบกิจการต้องปฏิบัติตามหรือเมื่อผู้ประกอบการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามก็จะไม่มีบทลงโทษซึ่งแตกต่างกับกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข ที่กำหนดให้รัฐมนตรีออกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรการในการควบคุมหรือกำหนดมาตรฐานและวิธีการดำเนินการเพื่อตรวจสอบควบคุม หรือกำกับดูแลสถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ซึ่งหากผู้ใดฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติหรือข้อกำหนดดังกล่าวก็มีบทลงโทษตามกฎหมายได้ ส่วนปัญหาการบังคับใช้ ประกาศกระทรวงสาธารณสุขจึงออกตามความในมาตรา 3(3)(ข) แห่งพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสถานบริการ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2546 พบว่ามีประเด็นปัญหากรณีการขอใบรับรองมาตรฐานเป็นภาคความสมัครใจของ ผู้ประกอบการมิได้มีสภาพบังคับให้ต้องปฏิบัติทุกราย กรณีผู้ประกอบการดำเนินการผิดไปจากมาตรฐานที่กำหนดหรือไม่ต่ออายุใบรับรองมาตรฐานก็ไม่มีการตรวจสอบจากพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ชัดเจน ผู้ศึกษาจึงมีข้อเสนอแนะว่าควรมีการเสนอร่างกฎหมายว่าด้วยการควบคุมสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ โดยจัดระบบการส่งเสริมและควบคุมกำกับการประกอบการเพื่อสุขภาพให้เป็นไปอย่างมีมาตรฐาน ซึ่งจะลดขั้นตอนการขออนุญาตของผู้ประกอบการและลดปัญหาความซ้ำซ้อนและการบังคับใช้กฎหมายได้th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectธุรกิจสปา--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ--ไทยth_TH
dc.subjectธุรกิจสปา--ไทยth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--นิติศาสตร์th_TH
dc.titleปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมสถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพth_TH
dc.title.alternativeThe legal problem concerning the control of the health spa establishmenten_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.12 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons