Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4539
Title: | การใช้อำนาจของผู้บริหารท้องถิ่นในการออกคำสั่งให้รองผู้บริหารท้องถิ่นพ้นจากตำแหน่งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป |
Other Titles: | Power of Local Government executives regarding orders to remove deputy local executives from offices |
Authors: | กมลชัย รัตนสกาววงศ์ สุกิจ ยะคำ, 2516- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี การถอดถอนออกจากตำแหน่ง |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระ เรื่อง การใช้อำนาจของผู้บริหารท้องถิ่นในการออกคำสั่งให้รองผู้บริหารท้องถิ่นพ้นจากตำแหน่งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไปนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับการกระจายอำนาจ การปกครองท้องถิ่น การเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง การจัดตั้งคณะผู้บริหารท้องถิ่น และหลักการใช้อานาจทางปกครองของฝ่ายปกครอง (2) ศึกษากฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไปและกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (3) ศึกษาวิเคราะห์คำพิพากษาศาลปกครองที่วินิจฉัยเกี่ยวกับการใช้อำนาจของผู้บริหารท้องถิ่นในการออกคำสั่งให้รองผู้บริหารท้องถิ่นพ้นจากตำแหน่ง (4) หาแนวทางการแก้ไขปัญหาการใช้อำนาจของผู้บริหารท้องถิ่นในการออกคำสั่งให้รองผู้บริหารท้องถิ่นพ้นจากตำแหน่ง การศึกษาค้นคว้าอิสระฉบับนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเอกสารโดยจะศึกษาค้นคว้ารวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ได้แก่ กฎหมาย ตำรา วิทยานิพนธ์ บทความทางวิชาการ และแนวคำพิพากษาของศาลปกครองที่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจสั่งให้รองผู้บริหารท้องถิ่นพ้นจากตำแหน่ง และที่เกี่ยวข้องกับวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ผลการศึกษาพบว่า (1) การใช้อำนาจของผู้บริหารท้องถิ่นที่ออกคำสั่งให้รองผู้บริหารท้องถิ่นพ้นจากตำแหน่งเป็นการใช้อำนาจทางการเมืองท้องถิ่น และขาดลักษณะที่จะเป็นคำสั่งทางปกครอง (2) การวินิจฉัยให้การใช้อำนาจของผู้บริหารท้องถิ่นที่ออกคำสั่งให้รองผู้บริหารท้องถิ่นพ้นจากตำแหน่งเป็นคำสั่งทางปกครองตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ไม่สอดคล้องกับหลักการของกฎหมายปกครองที่มุ่งตรวจสอบดุลยภาพระหว่างการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพประชาชนและการรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมจากการใช้อำนาจทางปกครอง แนวทางในการแก้ไขปัญหามีดังนี้ (1) ศาลปกครองควรวินิจฉัยให้การใช้อำนาจของผู้บริหารท้องถิ่นที่ออกคำสั่งให้รองผู้บริหารท้องถิ่นพ้นจากตำแหน่งเป็นการใช้อำนาจทางการเมือง หรือ (2) ตราพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 4 วรรคสอง ของพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ยกเว้นไม่ให้นำพระราชบัญญัติฉบับนี้ไปใช้บังคับกับการใช้อำนาจออกคำสั่งดังกล่าวนี้ เพื่อให้เกิดความชัดเจน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4539 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 16.87 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License