Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4543
Title: กระบวนการกำหนดโทษทางวินัยและการอุทธรณ์ตามมติ ป.ป.ช.
Other Titles: Disciplinary action and appeal process in case of proceeding related to the resolution of the National Anti-Corruption Commission
Authors: ภาณินี กิจพ่อค้า, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุชาติ อยู่เกตุ, 2503-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
วินัย
อุทธรณ์
วินัย--อุทธรณ์
การลงโทษ
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง “กระบวนการกำหนดโทษทางวินัยและการอุทธรณ์ตามมติ ป.ป.ช.” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฏี และหลักกฎหมายเกี่ยวกับหลักนิติรัฐอันเป็นหลักสากลที่นำไปสู่หลักการปกครองในรัฐ ตลอดจนหลักการกระทำทางปกครองที่มีผลกระทบต่อเสรีภาพของบุคคลภายในรัฐและหมายรวมถึงเจ้าหน้าที่รัฐที่ได้รับโทษโทษทางวินัย จึงทำให้เกิดการควบคุมการกระทำของฝ่ายปกครองให้อยู่ในหลักการก่อนที่จะนำคดีไปถึงองค์กรตรวจสอบภายนอกฝ่ายปกครอง การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสาร จากกฎหมายของไทยและของต่างประเทศ ตำรา บทความทางวิชาการ วิทยานิพนธ์ด้านกฎหมายปกครองที่เกี่ยวข้อง คำสั่งศาลปกครองสูงสุด ความเห็นของคณะกรรมการ และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2546 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ( ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2554 ตามมาตรา 92 และมาตรา 96 มีกระบวนการกำหนดโทษทางวินัยและการอุทธรณ์ ซึ่งเป็นการรวมอำนาจให้ ป.ป.ช. เป็นผู้ไต่สวนข้าราชการผู้ถูกกล่าวหา โดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอีก ให้ถือว่ารายงานเอกสารและความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นสำนวนการสอบสวนทางวินัยของคณะกรรมการสอบสวนวินัย ซึ่งส่งผลถึงการกำหนดโทษทางวินัย และเป็นการปิดกั้นการใช้อำนาจของคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ตามกฎหมายเฉพาะ ที่ไม่สามารถตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการวินิจฉัยอุทธรณ์ได้อย่างครบถ้วน ทำให้อุทธรณ์เป็นการอุทธรณ์ที่ไม่เกิดผลทางกฎหมาย โดยผู้วิจัยได้เสนอแนะแนวทางแก้ไขให้สามารถอุทธรณ์คำวินิจฉัยการลงโทษทางวินัยซึ่งมาจากสำนวนการสอบสวนของ ป.ป.ช. ต่อ คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ตามกฎหมายเฉพาะได้ตามปกติซึ่งจะสามารถทบทวนหรือตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของกระบวนการสอบสวนทั้งหมดได้ มิใช่ให้อุทธรณ์ได้เฉพาะในกรณีดุลพินิจในการกำหนดโทษเท่านั้น เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานของหลักกฎหมายทั่วไป และเป็นการคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกกล่าวหา
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4543
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.73 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons