Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/454
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | จักรกฤษณ์ ศิวะเดชาเทพ | th_TH |
dc.contributor.author | อนันต์ สุ่นปาน, 2493- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา | th_TH |
dc.date.accessioned | 2022-08-10T11:57:08Z | - |
dc.date.available | 2022-08-10T11:57:08Z | - |
dc.date.issued | 2545 | - |
dc.identifier.uri | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/454 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2545 | th_TH |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสำรวจ ชนิด ปริมาณ ลักษณะ และระบบการจัดการขยะอุตสาหกรรมที่ดำเนินการอยู่ของสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ กบินทร์บุรี (2) เลือกประเภทขยะอุตสาหกรรมของสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์กบินทร์บุรี ที่เหมาะสมสำหรับการกำจัดโดยเตาเผา และ (3) ทดสอบประสิทธิภาพของเตาเผาชนิดควบคุมอากาศขนาดเล็ก โดยการเผาขยะอุตสาหกรรมจากสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์กบินทร์บุรีในการศึกษาได้ขยะจากโรงงานในสวนอุตสาหกรรรมเครือสหพัฒน์กบินทร์บุรี จำนวน 28 โรงงาน โดยใช้แบบสำรวจเป็นเครื่องมือเพื่อสำรวจ ชนิด ปริมาณ ลักษณะ และระบบการจัดการขยะอุตสาหกรรมและทำการสุ่มตัวอย่างขยะอุตสาหกรรมประเภทที่เผาไหม้ได้จากขยะทั่วไป โดยวิธีแบ่งสี่ส่วน สำหรับการกำจัดโดยเตาเผา หลังจากนั้นทำการทดสอบประสิทธิภาพของเตาเผาชนิดควบคุมอากาศขนาด 100 กิโลกรัมต่อชั่วโมง โดยการควบคุมอุณหภูมิต้องเผาไหม้ที่หนึ่ง ให้คงที่ที่ 400- 500 องศาเซลเซียส และ 700-800 องศาเซลเซียส และ ควบคุมอุณหภูมิต้องเผาไหม้ที่สอง ให้คงที่ไว้ที่ช่วง 700-1,200 องศาเซลเซียส ในการวิเคราะหข้อมูล ใช้สถิติ ค่า ร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเที่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์แบบเพียรสัน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัยพบว่า (1) มีขยะอุตสาหกรรมจากสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์กบินทร์บุรี ประมาณวันละ 26.84 ตัน แบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ขยะรีไซเคิล ร้อยละ 16.26 ขยะอินทรีย์ร้อยละ 2.65 ขยะทั่วไป ร้อยละ 31.92 ซึ่งจัดเก็บโดยเทศบาลท้องถิ่นและขยะอันตรายร้อยละ 49.17 จัดเก็บโดย บริษัทบริหารและพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จำกัด (มหาชน) (2) ขยะที่เหมาะสมสำหรับการกำจัดโดยเตาเผา คือ ขยะทั่วไปซึ่งเป็นประเภทที่เผาไหม้ใด้รัอยละ 51.18 (3) จากการเผาพบว่ามีปริมาณก๊าซไฮโดรเจนคลอไรค์ โลหะหนัก ปริมาณขี้เถ้า อัตราการเผาไหม้ อัตราการใช้นั้ามันเชื้อเพลงอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานและค่าที่ออกแบบของเตาเผายกเว้นปริมาณฝุ่นละอองมีค่าเกินมาตรฐาน และจากการทดสอบทางสถิติพบว่า อุณหภูมิต้องเผาไหม้ที่หนึ่งไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งสองการทดลอง อุณหภูมิต้องเผาไหม้ที่หนึ่งมีผลต่อปริมาณก๊าซมลพิษ และมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของต้องเผาไหม้ที่สอง อุณหภูมิต้องเผาไหม้ที่สองมีผลต่อปริมาณก๊าซมลพิษเช่นเดียวกับอุณหภูมิของต้องเผาไหม้ที่หนึ่ง อุณหภูมิต้องเผาไหม้ที่สองในการทดสอบครั้งเดียวกันมีผลทำให้ค่าปริมาณก๊าซมลพิษในทุกช่วงอุณหภูมิแตกต่างกัน | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Reformatted digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | เตาเผาขยะ--ไทย | th_TH |
dc.subject | การกำจัดขยะ--ไทย--ปราจีนบุรี | th_TH |
dc.title | การศึกษาประสิทธิภาพของเตาเผาชนิดควบคุมอากาศขนาดเล็ก ในการกำจัดขยะอุตสาหกรรม จากส่วนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ กบินทร์บุรี | th_TH |
dc.type | Thesis | th_TH |
dc.degree.name | สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this study were (1) to survey the existing types, quantity, composition and industrial solid wastes management system of Saha Group Industrial Park in Kabinburi; (2) to classify the industrial solid wastes of Saha Group Industrial Park in Kabinburi that were suitable for disposal by incinerator; and (3) to determine the efficiency of a small scale controlled - air incinerator by burning the industrial solid wastes of Saha Group Industrial Park in Kabinburi. Solid wastes taken from the twenty-eight factories of Saha Group Industrial Park in Kabinburi was studied by using questionnaires to survey the types, quantity, composition and management system of industrial solid wastes, rhe combustible industrial solid wastes were undertaken by means of quartering random sampling from general wastes for disposal by incinerator, rhe efficiency testing of a small scale controlled-air incinerator of 100 kilograms per hour was done by constantly controlling the temperature of the primary burning chamber at 400-500 °C and 700-800 °C whereas the temperature of the secondary burning chamber were controlled at range 700-1,200 °C. rhe data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation, Pearson’s correlation coefficient, t-test and ANOVA. the results of the studies showed that (1) the quantity of industrial solid wastes of Saha Group Industrial park in Kabinburi was approximately 26.84 tons/day classified into 4 types including 16.26% recycle wastes , 2.65% organic wastes, 31.92% general wastes which were collected by the local Municipality and 49.17% hazardous wastes which were collected by the General Environmental Conservation Public Company Limited (GENCO); (2) the waste suitable for disposal by incinerator was combustible wastes that was 51.18% of general wastes. ; and (3)The combustion showed that the amount of hydrogenchloride , heavy metals , ash, burning rate , fuel consumption rate met the standard criteria’s and designed parameters of incinerator excluding the total suspended particles. rhe statistical analysis indicated that the temperature of primary burning chamber were not significantly different in both experiments, rhe temperature of primary burning chamber affected to amount of polluted gases and temperature of secondary burning chamber, rhe temperature of secondary burning chamber affected to amount of polluted gases as same as the temperature of primary burning chamber, rhe difference of temperature of secondary burning chamber in the same experiment affected to different amount of polluted gases | en_US |
Appears in Collections: | Health-Theses |
This item is licensed under a Creative Commons License