Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/455
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorภาณุมาศ ขัดเงางาม, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorกนกวรรณ ธราวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorธีรเดช มโนลีหกุล, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorชวินโรจน์ ธีรพัชรพร, 2515-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-08-11T00:44:44Z-
dc.date.available2022-08-11T00:44:44Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/455-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายมหาชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559th_TH
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ เรื่อง สิทธิความเสมอภาคในการสมรสของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี บ่อเกิดแห่งสิทธิความเสมอภาคในการสมรส (2) วิเคราะห์สภาพปัญหาของ คู่รักหลากหลายทางเพศในประเทศไทย อาทิ หญิงรักหญิง ชายรักชาย คนรักสองเพศ คนข้ามเพศ คนที่มีเพศกำกวม เควียร์ ซึ่งไม่ได้รับความเสมอภาคในการสมรส (3) เปรียบเทียบกฎหมายระหวางประเทศ กฎหมายฝรั่งเศส กฎหมาย สหราชอาณาจักร (4) นําผลการวิเคราะห์มาเป็นแนวทางในการเสนอแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย หรือเสนอกฎหมายใหม่ ที่เหมาะสม เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีวิจัยเอกสารจากตัวบทกฎหมาย งานวิจัย บทความทั้งภายใน และต่างประเทศ อีกทั้งใช้การวิจัยภาคสนาม โดยการสัมภาษณ์คู่รักหลากหลายทางเพศ องค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิทธิ ความหลากหลายทางเพศ นักวิชาการด้านกฎหมาย และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกฎหมายการสมรสในประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่า คู่รักหลากหลายทางเพศในประเทศไทย ประสบปัญหา สืบเนื่องจากประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ บัญญัติเงื่อนไขการสมรสให้เฉพาะชายและหญิงตามเพศที่กําเนิด ทําให้คู่รักหลากหลายทางเพศ ขาดสิทธิและหน้าที่ทางกฎหมาย ทั้งตามประมวลกฎหมายและพาณิชย์ และตามกฎหมายอื่น ๆ ที่อ้างอิงคําว่า คู่สมรส สามีภริยา ทายาทโดยธรรม ถึงแม้วารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร พ.ศ. 2560 มีบทบัญญัติห้ามการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุ แห่งเพศ อีกทั้งอนุสัญญาและกติการะหว่างประเทศที่ประเทศไทยเข้าร่วมลงนามและให้สัตยาบันก็ได้มีบทบัญญัติ เช่นเดียวกัน ในต่างประเทศมีกฎหมายที่รับรองการใช้ชีวิตคู่ของคู่รักหลากหลายทางเพศอยู่ 2 รูปแบบ คือ กฎหมายที่ให้ความเสมอภาคในการสมรสซึ่งให้ศักดิ์ศรี สิทธิ และหน้าที่แก่คู่รักหลากหลายทางเพศเทียบเท่าคู่สมรสต่างเพศ และ กฎหมายการจดทะเบียนคู่ชีวิต ซึ่งให้สิทธิ และหน้าที่บางประการด้อยกว่ากฎหมายสมรส ดังเช่น กฎหมายฝรั่งเศส และกฎหมายสหราชอาณาจักร ซึ่งมีกฎหมายที่ให้ความเสมอภาคในการสมรส และกฎหมายการจดทะเบียนคู่ชีวิต ในประเทศไทย กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรมได้เสนอร่างพระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่ชีวิต และ องค์กรภาคประชาชนได้เสนอร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต ทว่า บทบัญญัติของร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มิได้ให้ศักดิ์ศรี สิทธิ ความเสมอภาค เทียบเท่า การสมรสและคู่สมรสตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย์th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช-
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectการสมรสของกลุ่มรักร่วมเพศ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับth_TH
dc.subjectการสมรส -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับth_TH
dc.subjectความเสมอภาคth_TH
dc.titleสิทธิความเสมอภาคในการสมรสของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeMarriage equality right for sexual diversity people in Thailandth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objective of thesis title: Marriage Equality Rights for Sexual Diversity People in Thailand is (1) to study the concepts and the relevant theories which are the sources of Marriage Equality Rights, (2) analyzing causes of the lack of marriage equality of Lesbian, Gay, Bi-sexual, Transgender, Inter-sex, Queer (LGBTIQ) in Thailand, (3) comparison between Thai laws, International laws, France laws and United Kingdom laws were also performed and (4) The results from the comparison were used as the guideline for the consideration of modifying the existing laws or proposing the new law that can solve the problems for LGBTIQ Couples in Thailand. The applied methodology of thesis was qualitative method, basing on documentary works from Thai and International laws, researches and articles, including in-depth interviews of LGBTIQ Couples, Non-Governmental Organizations (NGO), Laws Lecturers and other parties related to Marriage Laws in Thailand. The results of the study showed that LGBTIQ Couples in Thailand faced problems. The problems were caused by the enactment of Marriage Law under Thai Civil and Commercial Code (CCC), stating that only the gender assignment at birth as a man and a woman can be a couple who has the marriage right to be legally married. The action affected LGBTIQ Couples to lose their rights and duties under CCC and under other local laws as the laws refer to the rights of spouses, husband and wife and statutory heir with the reference to the mentioned problems. Although Thai Constitution B.E. 2560 were legislated with the principle of non-discrimination against gender and Thailand also signed and ratified Conventional International Laws having the same principle, but the problems still exist. Internationally, there are two types of legislation for LGBTIQ relationships, Marriage Equality Law and Civil Partnership Laws and such laws exist in France and United Kingdom. Rights and Liberties Protection Department, Ministry of Justice in Thailand has drafted Registration Civil Partnership Bill, while Thai NGO has drafted Civil Partnership Bill. However, both drafts did not achieve the same level of equality, dignity and rights as they were presented in Marriage Law under CCCen_US
Appears in Collections:Law-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib153708.pdfเอกสารฉบับเต็ม54.22 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons