กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/455
ชื่อเรื่อง: สิทธิความเสมอภาคในการสมรสของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Marriage equality right for sexual diversity people in Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภาณุมาศ ขัดเงางาม, อาจารย์ที่ปรึกษา
กนกวรรณ ธราวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธีรเดช มโนลีหกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชวินโรจน์ ธีรพัชรพร, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
การสมรสของกลุ่มรักร่วมเพศ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การสมรส -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
ความเสมอภาค
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: วิทยานิพนธ์ เรื่อง สิทธิความเสมอภาคในการสมรสของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี บ่อเกิดแห่งสิทธิความเสมอภาคในการสมรส (2) วิเคราะห์สภาพปัญหาของ คู่รักหลากหลายทางเพศในประเทศไทย อาทิ หญิงรักหญิง ชายรักชาย คนรักสองเพศ คนข้ามเพศ คนที่มีเพศกำกวม เควียร์ ซึ่งไม่ได้รับความเสมอภาคในการสมรส (3) เปรียบเทียบกฎหมายระหวางประเทศ กฎหมายฝรั่งเศส กฎหมาย สหราชอาณาจักร (4) นําผลการวิเคราะห์มาเป็นแนวทางในการเสนอแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย หรือเสนอกฎหมายใหม่ ที่เหมาะสม เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีวิจัยเอกสารจากตัวบทกฎหมาย งานวิจัย บทความทั้งภายใน และต่างประเทศ อีกทั้งใช้การวิจัยภาคสนาม โดยการสัมภาษณ์คู่รักหลากหลายทางเพศ องค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิทธิ ความหลากหลายทางเพศ นักวิชาการด้านกฎหมาย และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกฎหมายการสมรสในประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่า คู่รักหลากหลายทางเพศในประเทศไทย ประสบปัญหา สืบเนื่องจากประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ บัญญัติเงื่อนไขการสมรสให้เฉพาะชายและหญิงตามเพศที่กําเนิด ทําให้คู่รักหลากหลายทางเพศ ขาดสิทธิและหน้าที่ทางกฎหมาย ทั้งตามประมวลกฎหมายและพาณิชย์ และตามกฎหมายอื่น ๆ ที่อ้างอิงคําว่า คู่สมรส สามีภริยา ทายาทโดยธรรม ถึงแม้วารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร พ.ศ. 2560 มีบทบัญญัติห้ามการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุ แห่งเพศ อีกทั้งอนุสัญญาและกติการะหว่างประเทศที่ประเทศไทยเข้าร่วมลงนามและให้สัตยาบันก็ได้มีบทบัญญัติ เช่นเดียวกัน ในต่างประเทศมีกฎหมายที่รับรองการใช้ชีวิตคู่ของคู่รักหลากหลายทางเพศอยู่ 2 รูปแบบ คือ กฎหมายที่ให้ความเสมอภาคในการสมรสซึ่งให้ศักดิ์ศรี สิทธิ และหน้าที่แก่คู่รักหลากหลายทางเพศเทียบเท่าคู่สมรสต่างเพศ และ กฎหมายการจดทะเบียนคู่ชีวิต ซึ่งให้สิทธิ และหน้าที่บางประการด้อยกว่ากฎหมายสมรส ดังเช่น กฎหมายฝรั่งเศส และกฎหมายสหราชอาณาจักร ซึ่งมีกฎหมายที่ให้ความเสมอภาคในการสมรส และกฎหมายการจดทะเบียนคู่ชีวิต ในประเทศไทย กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรมได้เสนอร่างพระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่ชีวิต และ องค์กรภาคประชาชนได้เสนอร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต ทว่า บทบัญญัติของร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มิได้ให้ศักดิ์ศรี สิทธิ ความเสมอภาค เทียบเท่า การสมรสและคู่สมรสตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย์
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายมหาชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/455
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib153708.pdfเอกสารฉบับเต็ม54.22 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons