กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4571
ชื่อเรื่อง: การสอบสวนเด็กและเยาวชนตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พุทธศักราช 2553
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Investigation under the act on Family and Youth Courts and its Procedure B.E. 2010
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภาณินี กิจพ่อค้า, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุธีภัค วชิรโชติกุล, 2504-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
ศาลเยาวชนและครอบครัว--ไทย
การศึกษาอิสระ--นิติศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พุทธศักราช 2553 นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาแนวคิดและวิวัฒนาการในการคุ้มครองสิทธิของเด็กและเยาวชนของต่างประเทศและประเทศไทย (2) เพื่อศึกษาหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่ในการปฏิบัติต่อผู้ต้องหาคดีอาญาซึ่งเป็นเด็กและเยาวชน 3) เพื่อศึกษาถึงปัญหาที่เกิดขึ้น จากการปฏิบัติต่อผู้ต้องหาเด็กและเยาวชนในชั้นสอบสวน 4) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นและหาแนวทางแก้ไข ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวนผู้ต้องหาเด็กและเยาวชน การค้นคว้าอิสระฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิธีการวิจัยเอกสารจากตัวบทกฎหมาย ตำรา วารสาร วิทยานิพนธ์ ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต และเอกสารต่าง ๆ ภายในประเทศและต่างประเทศที่เกี่ยวข้องโดยวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นเละเปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอังกฤษซึ่งถือเป็นต้นแบบในการแก้ไขปรับปรุงระบบความยุติธรรมสำหรับเด็กของประเทศไทยในปัจจุบัน จากการศึกษาพบ (1) การควบคุมตัวเด็กและเยาวชนโดยไม่คำนึงถึงความจำเป็น และระยะเวลาการผัดฟ้องแต่ละผัดนานเกินความจำเป็นจึงควรลดระยะเวลาผัดฟ้อง 2) กฎหมายไม่ไต้กำหนดถึงคุณสมบัติเกี่ยวกับประสบการณ์ของผู้ที่จะเป็นที่ปรึกษากฎหมายให้แก่เด็กและเยาวชนจึงควรกำหนดให้ที่ปรึกษากฎหมายจะต้องเคยว่าความคดีเด็กหรือเยาวชน (3) ไม่มีบทบัญญัติใดกำหนดให้บิดา มารดาหรือบุคคลที่เด็กไว้วางใจ หรือที่ปรึกษาที่เข้าร่วมนั้นสามารถให้คำปรึกษาไต้ ขณะสอบปากคำจึงควรกำหนดให้บุคคลเหล่านี้เข้าร่วมในการสอบปากคำและกำหนดหน้าที่ให้ชัดเจน (4) ไม่มีการกำหนดระยะเวลาในการสอบปากคำไว้ ทำให้บางคดีใช้เวลานาน อาจทำให้ผู้ต้องหาให้ข้อมูลไม่ชัดเจนและไม่เป็นประโยชน์ต่อคดี ดังนั้นการกำหนดระยะเวลาในการสอบปากคำจึงจำเป็นอย่างยิ่ง โดยในการสอบปากคำต้องละครั้งควรจะกำหนดระยะเวลาให้ ผู้ต้องหาเด็กหรือเยาวชนพักระหว่างการสอบปากคำ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4571
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.4 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons