Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4595
Title: ความไม่เป็นธรรมในการหักค่าลดหย่อนในการเสียภาษี
Other Titles: The unfairness in tax deduction of personal income tax
Authors: ภาณินี กิจพ่อค้า, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุพิศา เคลือบอาบ, 2504-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชากฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
การหักลดหย่อนภาษี
Issue Date: 2554
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องความไม่เป็นธรรมในการหักค่าลดหย่อนในการเสียภาษี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่อง (1) ความเหมาะสมของค่าลดหย่อนตามประมวลรัษฎากร เฉพาะเรื่องค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามประมวลรัษฎากร (2) วิเคราะห์ปัญหาช่องว่างทางกฎหมายเกี่ยวกับค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และ (3) ศึกษาแนวทางในการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร โดยศึกษาจากกฎหมายไทยและต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง คือ ประมวลรัษฎากร คำสั่ง ระเบียบ แนวปฏิบัติ และหนังสือตอบข้อหารือของกรมสรรพากร คำพิพากษาของศาล ตำราทางกฎหมาย และบทความทางวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง จากการศึกษาพบว่า ความเหลื่อมล้ำในการจ่ายภาษีอันเนื่องมาจากสัดส่วนของเงินได้ที่ผู้ที่ร่ำรวยต้องจ่ายเป็นค่าภาษีต่ำกว่าสัดส่วนของเงินได้ที่ผู้มีรายได้น้อยต้องจ่ายเป็นค่าภาษี (หรือคนรวยจ่ายภาษีในอัตราที่ต่ำกว่าคนจน) ทำให้ความเหลื่อมล้ำหรือความแตกต่างด้านรายได้ระหว่างประชาชนเพิ่มมากยิ่งขึ้น การใช้ระบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในการจัดเก็บภาษีจากประชาชนสามารถที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ระหว่างประชาชนและเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจได้โดยการปฏิรูปค่าลดหย่อนภาษีเงินได้ส่วนบุคคลโดย (1) การปรับเพิ่มค่าลดหย่อนภาษีเงินได้ส่วนบุคคลให้คลอบคลุมค่าใช้จ่ายในการบริโภคส่วนบุคคลต่อคนและให้สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของระดับราคาสินค้า (2) การยกเลิกหรือทำให้หมดไปในค่าลดหย่อนภาษีเงินได้ส่วนบุคคลสำหรับคนร่ำรวย ดังนั้นผลที่คาดว่าจะได้รับ คือ การปรับเพิ่มค่าลดหย่อนภาษีแก่ผู้ที่มีรายได้น้อยและยกเลิกค่าลดหย่อนภาษีแก่ผู้มั่งมี ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้บรรลุผลตามเป้าหมายในการลดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ระหว่างประชาชนในระดับที่ต้องการ นอกจากนี้ น่าที่จะมีส่วนช่วยในการกระตุ้นระบบเศรษฐกิจของประเทศที่อยู่ในภาวะเศรษฐกิจถดถอย การปฏิรูปค่าลดหย่อนทำให้ผู้ที่มีรายได้น้อยจะมีเงินเหลือเพื่อนำไปจับจ่ายใช้สอยการครองชีพที่มากขึ้น ในขณะที่รัฐบาลเองก็น่าจะยังคงจัดเก็บภาษีได้อย่างพอเพียง เพราะการปฏิรูปจะส่งเสริมหลักความมีประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีอย่างประหยัดในเวลาเดียวกันอีกด้วยการปฏิรูปค่าลดหย่อนภาษีเงินได้ส่วนบุคคลเพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4595
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.73 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons