Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4601
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสิริพันธ์ พลรบ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorสุภวัตร์ บุญมา, 2496--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-03-17T04:57:58Z-
dc.date.available2023-03-17T04:57:58Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4601-
dc.description.abstractการศึกษาอิสระเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา (1) เพื่อการศึกษาแนวคิดและหลักกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิของผู้เสียหายที่จะได้รับการคุ้มครองจากการกระทำผิดอาญาของเด็กและเยาวชน (2) เพื่อศึกษาแนวคิดและหลักกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิของผู้เสียหายที่จะได้รับการคุ้มครองและเยียวยาจากความเสียหายต่อทรัพย์สินอันเกิดจากการกระทำผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชนในประเทศไทย (3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการคุ้มครองและเยียวยาจากความเสียหายต่อทรัพย์สินอันเกิดจากการกระทำผิดอาญาของเด็กและเยาวชน (4) เพื่อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของผู้เสียหายที่จะได้รับการคุ้มครองและเยียวยาจากความเสียหายต่อทรัพย์สินอันเกิดจากการกระทำผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชน การศึกษาอิสระครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) โดยศึกษาจากข้อมูลปฐมภูมิ ได้แก่ ตัวบทกฎหมาย คำพิพากษาหรือคำวินิจฉัย ตลอดจนคดีที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา และพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 และข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ ตำรา บทความและเอกสารวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ประกอบกับการสัมภาษณ์เชิงลึกจากบุคลากรที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดหนองคาย จำนวน 7 คน ผลการศึกษาพบว่า ในปัจจุบันการกระทำผิดอาญาของเด็กและเยาวชนมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น และยังไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายที่ชัดเจนในการเยียวยาผู้เสียหายกรณีความเสียหายต่อทรัพย์สินอันเกิดจากการกระทำผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชน และตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 86 และมาตรา 90 นั้น ในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ผู้เสียหายจะต้องได้รับการเยียวยาและยินยอม กล่าวคือ เด็กและเยาวชน ผู้กระทำผิดในคดีอาญาจะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้กับผู้เสียหาย แต่ในกรณีครอบครัวเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดมีฐานะยากจน ไม่สามารถเยียวยาผู้เสียหาย ทำให้ไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการเยียวยา ฟื้นฟูได้ ดังนั้นรัฐควรออกพระราชบัญญัติค่าตอบแทนทรัพย์สินผู้เสียหายเหมือนเช่นกรณี ค่าเสียหายต่อชีวิตและร่างกาย ตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนฯ คดีอาญา พ.ศ. 2544 เพื่อทำให้ผู้เสียหายได้รับการเยียวยา และจะต้องจัดสรรงบประมาณเพื่อการดำเนินการในการช่วยเหลือและสงเคราะห์กลุ่มผู้เสียหายที่ได้รับผลร้ายจากอาชญากรรมth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการกระทำผิดของเยาวชนth_TH
dc.subjectการชดใช้ค่าเสียหายth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--นิติศาสตร์th_TH
dc.titleการเยียวยาความเสียหายต่อทรัพย์สินอันเกิดจากการกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชนth_TH
dc.title.alternativeCompensation for damage to property arising from the criminal offense of children and juvenileen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.15 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons