กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4606
ชื่อเรื่อง: ประสบการณ์ความสุขจากการเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณอายุของข้าราชการครู จังหวัดสุพรรณบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Happy experience from preparation for retirement of teachers in Suphan Buri Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จิระสุข สุขสวัสดิ์
กิ่งกาญจน์ มนต์ไชยะ, 2533-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
ครู--การเกษียณอายุ
ความสุขในผู้สูงอายุ
การศึกษาอิสระ--การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ความสุขจากการเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณอายุของข้าราชการครู จังหวัดสุพรรณบุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแนวปรากฏการณ์วิทยา กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการครูที่มีช่วงอายุระหว่าง 55-60ปี มีที่พักในจังหวัดสุพรรณบุรี และมีความสมัครใจเข้าร่วมการวิจัย จำนวน 10 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แนวคำถามสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่ง โครงสร้าง แบบบันทึกภาคสนาม แบบบันทึกการสังเกต และวัสดุบันทึกเสียง การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์เนื้อหา และบริบทของข้อมูลด้วยวิธีการถอดรหัสข้อความ และจัดกลุ่มข้อมูล ให้เป็นหมวดหมู่ตามลักษณะ ที่มีความหมายคล้ายคลึงกัน แล้วจึงชัดเป็นประเด็นย่อย และสรุปเป็น ประเด็นหลัก ผลการวิจัย พบว่า ความสุขจากการเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณอายุของข้าราชการครู จังหวัดสุพรรณบุรี พบ 3 ประเด็นหลัก ดังนี้ (1) การเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณอายุ แบ่งเป็น ประเด็นย่อย 2 ประเด็น คือ (1.1) ปัจจัยภายใน และ (1.2) ปัจจัยภายนอก (2) วิธีตรียมความพร้อม ก่อนเกษียณอายุ แบ่งเป็นประเด็นย่อยได้ 6 ประเด็น คือ (2.1) การเตรียมความพร้อมของจิตใจ (2.2) การเตรียมร่างกายให้แข็งแรง (2.3) การมีเวลาเพลิดเพลินกับกิจกรรมยามว่าง (2.4) การมี สัมพันธภาพทางบวกของครอบครัว (2.5) การมีที่อยู่อาศัยมั่นคง และ (2.6) การอยู่อย่างพอเพียง และประเด็นสุดท้าย คือ (3) ความสุขที่เกิดขึ้นจากการเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณอายุ แบ่งเป็น ประเด็นย่อยได้ 4 ประเด็น คือ (3.1) การมีธุรกิจเสริม (3.2) การมีเวลาดูแลสุขภาพมากขึ้น (3.3) การ มีเวลาพักผ่อนเพิ่มขึ้น และ (3.4) การได้ทำในสี่งที่ตนเองต้องการอย่างอิสระ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4606
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_155991.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.17 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons