Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4608
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorภาณินี กิจพ่อค้า, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorสุพัตรา คำแท่ง, 2527--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-03-17T06:33:59Z-
dc.date.available2023-03-17T06:33:59Z-
dc.date.issued2558-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4608-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง “กระบวนพิจารณาคดีของศาลปกครองเกี่ยวกับการร้องสอด ในคดีพิพาทเกี่ยวกับการลงโทษทางวินัยซึ่งเกิดจากการชี้มูลความผิดของคณะกรรมการ ป.ป.ช.” มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยข้าราชการพลเรือน 2) เพื่อศึกษา บทบาท และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เกี่ยวกับการชี้มูลความผิดทางวินัยข้าราชการพลเรือน 3) เพื่อศึกษาการร้องสอดในคดีปกครอง 4) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับกระบวนพิจารณาคดีของศาลปกครองในคดีพิพาทที่เกี่ยวกับการลงโทษทางวินัยอันเกิดจากการชี้มูลความผิดของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และ 4) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลปกครองในคดีพิพาทดังกล่าว การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการค้นคว้าและวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้รูปแบบการวิจัยทางเอกสาร โดยศึกษาจากตัวบทกฎหมาย คำวินิจฉัยศาลปกครองสูงสุด คำพิพากษาศาลฎีกา ตำรา บทความ วิทยานิพนธ์ และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อประมวลสภาพปัญหาการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีปกครองในคดีพิพาทดังกล่าว ตามระบบกฎหมายของต่างประเทศ เพื่อนำมาเทียบเคียงกับกระบวนพิจารณาคดีในศาลปกครองไทย ผลการศึกษาพบว่า ในทางพิจารณาคดีของศาลปกครองในคดีพิพาทดังกล่าว พบว่ามีการดำเนินกระบวนพิจารณาที่แตกต่างกันขององค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีอันเกิดจากการตีความผลทางกฎหมายของ การชี้มูลความผิดของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ตามแนวทางของประเทศฝรั่งเศสทั้งที่ในประเทศฝรั่งเศสองค์กรปราบปรามคอร์รัปชันไม่มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับคณะกรรมการ ป.ป.ช. ของไทยในกรณีดังกล่าว จึงส่งผลกระทบต่อกระบวนพิจารณาคดี คือ กรณีที่ศาลไม่แสวงหาข้อเท็จจริงจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. ทำให้มีการขอพิจารณาคดีใหม่ เป็นเหตุให้คดีไม่อาจเสร็จสิ้นไปในคราวเดียวกัน ซึ่งกรณีดังกล่าวในต่างประเทศ เช่น ประเทศสาธารณรัฐเยอรมันนี จะมีการเรียกคู่กรณีเช่นว่านี้เข้ามาในคดีในลักษณะเป็นผู้ถูกเชิญให้เข้ามาในคดี และจากการศึกษาพบว่า การร้องสอดในคดีปกครองจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขการฟ้องคดีและระยะเวลาการฟ้องคดี และการจะอนุญาตให้มีการเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนพิจารณาหรือไม่นั้นเป็นดุลพินิจของศาลที่จะพิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาตก็ได้ ผู้ศึกษาจึงเห็นว่า เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงขอเสนอแนะทางเลือกในการแก้ไขปัญหา ดังนี้ 1) ให้มีการทบทวนบทบาทอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการชี้มูลความผิดทางวินัยข้าราชการ โดยให้ผลการชี้มูลความผิดของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของสำนวนการสอบสวนทางวินัยของผู้บังคับบัญชา เพื่อให้ผู้บังคับบัญชา หรือ ก.พ.ค. ซึ่งเป็นองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญด้านการดำเนินการทางวินัยมีโอกาสในการแก้ไขทบทวนการดำเนินการทางวินัย 2) แก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายโดยให้โอกาสคณะกรรมการป.ป.ช. ร้องสอดเข้ามาในคดี หรือให้หน่วยงานหรือผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องขอต่อศาลเพื่อเรียกให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. เข้ามาในคดีth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectศาลปกครอง--การพิจารณาและตัดสินคดีth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชนth_TH
dc.titleกระบวนพิจารณาคดีของศาลปกครองเกี่ยวกับการร้องสอดในคดีพิพาทเกี่ยวกับการลงโทษทางวินัยซึ่งเกิดจากการชี้มูลความผิดของคณะกรรมการ ป.ป.ช.th_TH
dc.title.alternativeThe procedure of the administrative court relating to interpleading in disputes about disciplinary action arising from The NACC Disciplinary Breach Indicationen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis independent study focuses on the Administrative Court procedure relating to interpleading in disputes over disciplinary sanction arising from the resolution of the NACC that the allegation has a prima facie case. The aims of the study are: 1) to study concepts and theories about procedure on disciplinary allegation of civil servants; 2) to study roles and power and duty of the NACC in passing the resolution that such disciplinary allegation has a prima facie case; 3) to study the interpleading in the administrative case; 4) to study and analyze problems concerning administrative court procedure in the dispute relating to disciplinary sanction arising from the indication of prima facie case by the NACC; and 5) to recommend solutions for solving problems arising in the administrative court procedure from this dispute. This independent study is qualitative analysis in the form of documentary research. The research collects data from the provisions of law, the Supreme Administrative Court decisions, the Supreme Court decisions, legal books, legal articles, theses, and other relating documents, in order to accumulate problems occurring from administrative court procedure in this dispute in foreign countries’ legal system while comparing with those in the administrative court procedure of Thailand. According to the research study, there is different between Thai and French administrative court procedure, due to different quasi-judicial authority resulting in the interpretation of law in the indication of prima facie case by the NACC. Unlike Thai system, France does not have NACC of similar authority. Accordingly, when applying French system in the court case proceeding, the Court does not inquire the facts from the NACC, leading to the request for new trial with the consequence of unfinished case. On the other hand, in the similar case in Germany, the involving persons will be summoned to have participation in the case. According to the research study, however, the interpleading in the administrative case has to be complied with the conditions and time of filing the case and at the discretion of the Court to allow or reject such interpleading. The author, therefore, would like to suggest solutions for such problems as follows: 1) the review of roles, and power and duty of the NACC regarding the resolution that the allegation has a prima facie case in disciplinary sanction, by just obtaining the fact inquiry report from the NACC to be the main part in the disciplinary sanction inquiry to be reviewed by the supervising official or the Merit System Protection Commission (MSPC); 2) the amendment of the provisions of law by providing opportunity to the NACC to interplead into the case, or to provide the rights for the authority or interested party to ask the Court to summon the NACC into the caseen_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.72 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons