Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4611
Title: ปัญหาวิธีพิจารณาเกี่ยวกับการคุ้มครองชั่วคราวก่อนการพิพากษาในคดีปกครองเกี่ยวกับคดีสิ่งแวดล้อม
Other Titles: Problem procedure on temporary protection before judgment of environmental administrative case
Authors: ชนินาฏ ลีดส์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุภาวดี พุทธพิมพ์, 2517-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
วิธีพิจารณาคดีปกครอง--ไทย
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระ เรื่อง ปัญหาวิธีพิจารณาเกี่ยวกับการคุ้มครองชั่วคราวก่อนการพิพากษาในคดีปกครองเกี่ยวกับคดีสิ่งแวดล้อม มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาถึงแนวความคิด และหลักการเกี่ยวกับการดำเนินคดีปกครองเกี่ยวกับคดีสิ่งแวดล้อม 2) เพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างการทุเลาการบังคับตามกฎหรือคาสั่งทางปกครองกับการบรรเทาทุกข์ชั่วคราว 3) เพื่อวิเคราะห์วิธีพิจารณาการคุ้มชั่วคราวก่อนการพิพากษาในคดีปกครองเกี่ยวกับคดีสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย และต่างประเทศ 4) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาเกี่ยวกับวิธีพิจารณาการคุ้มครองชั่วคราวก่อนการพิพากษาในคดีปกครองเกี่ยวกับคดีสิ่งแวดล้อม และ 5) เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาวิธีพิจารณาการคุ้มครองชั่วคราวก่อนการพิพากษาในคดีปกครองเกี่ยวกับคดีสิ่งแวดล้อม การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาวิจัยเอกสาร จากบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากตำรา บทความทางวิชาการ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องที่สามารถค้นคว้าได้จากอินเตอร์เน็ต จากนั้นนำข้อมูลทั้งหมดมาตรวจสอบเพื่อให้เป็นการแน่ใจว่าข้อมูลที่ได้มานั้นเป็นข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ จึงนำมาวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลในการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543 เกี่ยวกับการยื่นคำขอทุเลาการบังคับตามกฎหรือคำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ต้องระบุโดยชัดแจ้งว่าประสงค์จะขอทุเลาการบังคับตามกฎหรือคำสั่งทางปกครองใด การยื่นคำขอบรรเทาทุกข์ชั่วคราวจะต้องยื่นแยกต่างหากจากคำฟ้อง การมีคำสั่งทุเลาการบังคับตามกฎหรือคำสั่งทางปกครองจะต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดให้ครบทุกเงื่อนไข และการมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวนั้นจะต้องกระทำ โดยองค์คณะ จากที่กล่าวมานี้ ยังไม่เอื้อต่อการเข้าถึงความยุติธรรม และเป็นการสร้างภาระหรือสร้างขั้นตอนในการเข้าถึงความยุติธรรม ผู้ศึกษาจึงเสนอแนวทางในการแก้ไขไว้ ดังนี้ 1) การยื่นคำขอทุเลาการบังคับตามกฎหรือคำสั่งทางปกครองไม่จำต้องระบุคำขอโดยชัดแจ้งว่าประสงค์จะขอทุเลาการบังคับตามกฎหรือคำสั่งทางปกครองใด ควรเป็นดุลพินิจของศาลในกำหนดคำขอตามเหตุพิพาทนั้น ๆ 2) การยื่นคำขอบรรเทาทุกข์ชั่วคราวสามารถยื่นคำขอมาพร้อมกับคำฟ้องได้ดังเช่นเดียวกันกับการยื่นคำขอทุเลาการบังคับตามกฎหรือคำสั่งทางปกครอง 3) การมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวนั้นสามารถทำโดยตุลาการนายเดียวได้
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4611
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.27 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons