Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4613
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorภาณินี กิจพ่อค้าม อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorสุริศา ม่วงเรือง, 2528- ผู้แต่ง.-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-03-17T07:06:59Z-
dc.date.available2023-03-17T07:06:59Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4613-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงความสำคัญของปัญหาเกี่ยวกับการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของเจ้าพนักงานของรัฐและศึกษาถึงแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน การทุจริตคอร์รัปชัน กระบวนการ หลักเกณฑ์ และวิธีการในการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของประเทศไทย และตามกฎหมายต่างประเทศ โดยนำมาวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคของการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินตามหลักเกณฑ์และวิธีการในปัจจุบัน เพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงกฎหมายและการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินให้มีความเหมาะสมและสามารถบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร ใช้ข้อมูลจากเอกสารเป็นหลักในการวิจัย อันได้แก่ เอกสารที่เป็นข้อมูลปฐมภูมิ อาทิเช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ คำสั่ง และมติของคณะกรรมการ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง เอกสารที่เป็นข้อมูลทุติยภูมิ อาทิเช่น วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ รายงานการวิจัย รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี บทความ วารสาร ตลอดจนข้อมูลสถิติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษา พบว่า การยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินเป็นมาตรการที่มุ่งหมายให้เกิดความโปร่งใสในการดำรงตำแหน่งสาธารณะของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งในการกำหนดช่วงระยะเวลาหรือความถี่ในการยื่นบัญชี รวมถึงรูปแบบ และหลักเกณฑ์ในการแสดงรายการทรัพย์สินอื่นที่ยากต่อการพิสูจน์ถึงความมีอยู่จริงจึงมีความสำคัญ ทั้งนี้ ต้องคำนึงถึงหลักความคุ้มค่า การไม่สร้างภาระจนเกินความจำเป็นแก่ผู้มีหน้าที่ยื่นและเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประสิทธิผลที่ทางราชการจะได้รับ ดังนั้น ช่วงระยะเวลาสำหรับการยื่นบัญชีควรจะต้องยื่นเมื่อเข้ารับตำแหน่งและเมื่อพ้นจากตำแหน่ง โดยในระหว่างการดำรงตำแหน่ง หากมีการเปลี่ยนแปลงของทรัพย์สินหรือหนี้สินไปจากที่ยื่นไว้เมื่อเข้ารับตำแหน่ง เช่น เพิ่มขึ้น ลดลง เกิดขึ้นใหม่ และสิ้นสุดลง ให้ยื่นความเปลี่ยนแปลงนั้นทันที ทั้งนี้ ต้องมีการกำหนดอัตราร้อยละของความเปลี่ยนแปลงที่ต้องยื่นแสดงด้วย และไม่จำเป็นต้องตรวจสอบทุกบัญชีหรือทุกการเปลี่ยนแปลงที่ยื่นแสดง รวมทั้งออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์การยื่นแสดงรายการทรัพย์สินอื่น โดยกำหนดเอกสารหลักฐานและรายละเอียดที่จำเป็นต้องแจ้ง เช่น แหล่งที่มาของทรัพย์สิน รวมถึงกำหนดแบบฟอร์มสำหรับแสดงรายการทรัพย์สินอื่นโดยเฉพาะ โดยนำแนวทางการตรวจสอบของสาธารณรัฐจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา และอังกฤษ มาปรับปรุงใช้ให้เหมาะสมth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectข้าราชการ--การแสดงทรัพย์สิน--ไทยth_TH
dc.subjectกฎหมายแพ่งและพาณิชย์--ทรัพย์สินth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชนth_TH
dc.titleการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติth_TH
dc.title.alternativeSubmission of property and debt list to the National Anti-Corruption Commissionen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe independent study aimed to examine importance of problems about property and debt lists of state officials and investigate concepts and theories regarding the property and debt audit, corruption, processes, principles and methods of property and debt audit in Thailand and according to foreign laws. Data were collected to analyze problems and obstacles of submission of property and debt list according to the current principles and methods to find guidelines of improving laws and submission of the property and debt lists that are suitable and effectively enforceable. This independent study is a qualitative research with a documentary research method. Data from documents were mainly employed in the study including primary data i.e. the Constitution of the Kingdom of Thailand, acts, notices, regulations, orders and resolutions of the National Anti-Corruption Commission and other relevant documents and secondary data including theses, research studies, reports, annual overall operations reports, articles, journals as well as related statistical data. The findings reveal that the submission of property and debt list is a measure with aims of transparency in maintaining a public position of politically exposed persons and state officials. To define term or frequency of submission as well as formats and principles of property demonstration that is difficult to prove its existence is essential. Nevertheless, it is necessary to recognize worthiness that is not constructing too many burdens to submitters and auditors especially in terms of efficiency the government would receive. Hence, the period of account submission is that it should be performed when taking or leaving the position and upon the service, in case of changes in properties or debts from the initially submitted ones when taking the position such as increasing, decreasing, obtainment or termination, such changes should be immediately submitted. It is required to determine rate of change to be submitted and there is no need to audit every account or change that is submitted. Additionally, a notice on specification of principles of other property submission should be issued by defining evidences and details to be informed such as source of properties as well as specific property submission form. A guideline of auditing of the Republic of Georgia, the United States of America and England can be modified and implemented in a suitable manneren_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.66 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons