Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4626
Title: ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับคำสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ของรัฐชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฎิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539
Other Titles: Legal issues relating to orders requiring state officials to pay compensation pursuant to Regulations of the office of the Prime Minister on Procedures relating to Tort Liability of State Official B.E.2539
Authors: ธวัชชัย สุวรรณพานิช, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุวิทย์ ปิ่นพรหม, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
การบังคับใช้กฎหมาย--ไทย
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และคำสั่งทางปกครอง ศึกษาคำสั่งทางปกครองที่เรียกให้เจ้าหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกฎหมายไทย เสนอแนะแนวทางปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาเพื่อออกคำสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสารจากการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับหลักการพิจารณาทางปกครอง กรณีที่หน่วยงานของรัฐต้องออกคำสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามความเห็นของกระทรวงการคลังตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ตามข้อ 17 วรรคสอง แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 กำหนดให้ผู้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด ต้องส่งสำนวนให้กระทรวงการคลังเพื่อตรวจสอบ เว้นแต่เป็นเรื่อง ที่กระทรวงการคลังประกาศกำหนดว่าไม่ต้องรายงานให้กระทรวงการคลังตรวจสอบ และเมื่อกระทรวงการคลังตรวจสอบเสร็จแล้ว ผู้แต่งตั้งต้องดำเนินการออกคำสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามความเห็นของกระทรวงการคลังเท่านั้น ตามข้อ 18 แห่งระเบียบดังกล่าว โดยที่ผู้แต่งตั้งไม่สามารถพิจารณาออกคำสั่ง เป็นอย่างอื่นนอกเหนือความเห็นกระทรวงการคลังได้ อันเป็นการบัญญัติที่มีลักษณะบังคับ มีผลทำให้ผู้แต่งตั้งไม่ได้มีส่วนร่วมพิจารณาเพื่อมีคำสั่ง และการอุทธรณ์คำสั่งไม่มีผลในทางปฏิบัติที่จะเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไข ให้แตกต่างไปจากความเห็นของกระทรวงการคลังได้ เนื่องจากหัวหน้าหน่วยงานของรัฐผูกพันที่ต้องออกคำสั่งตามความเห็นของกระทรวงการคลัง ส่งผลโดยตรงต่อการใช้ดุลพินิจในการออกคำสั่งทางปกครอง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4626
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.39 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons