Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/475
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorภาณินี กิจพ่อค้าth_TH
dc.contributor.authorธนัฐกรณ์ โภคินกรณ์พงศ์, 2515-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-08-11T03:41:26Z-
dc.date.available2022-08-11T03:41:26Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/475en_US
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายมหาชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560th_TH
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีจุดมุ่งหมายในการศึกษากรณีการตั้งครรภ์แทนตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิด โดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ.2558 ด้วยสภาพสังคมและเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบัน ทำให้การตั้งครรภ์แทนสามารถทำได้โดยง่าย ประกอบกับคัาใช้จ่ายในการตั้งครรภ์แทนในประเทศไทยมีราคาไม่แพง ทำให้มีการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ เพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์แทนเป็นจำนวนมาก โดยไม่มีกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องโดยตรงมาควบคุม วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสารโดยการรวบรวมการศึกษาจากเอกสาร ประกอบด้วย เอกสารทางวิชาการ ตำรา หนังสือ บทความ รายงานการวิจัย รายงานวิชาการต่างๆ สื่ออิเล็คทรอนิคส์ บทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จากนั้นนำมาศึกษาเรียบเรียงแล้ววิเคราะห์อย่างเป็นระบบ เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงและพัฒนากฎหมายต่อไป ผลการศึกษาพบว่า การตั้งครรภ์แทนในประเทศสหรัฐอเมริกามีความแตกต่างกันไปตามแต่ละมลรัฐ มี เพียงบางส่วนที่คล้ายกันคือในเรื่องการยุติการตั้งครรภ์ และเห็นช่องว่างทางกฎหมายประการหนึ่งคือ การที่มี กฎหมายบังคับใช้แตกต่างกันในแต่่ละมลรัฐ และหากจะหลบเลี่ยงกฎหมายที่ต้องห้าม หรือมีข้อกาหนดที่ยุ่งยาก อาจมีการย้ายไปตั้งครรภ์แทนในมลรัฐที่สามารถทำได้และสะดวกกว่า แต่กฎหมายของประเทศไทยและประเทศอินเดียมีความคล้ายกันหลายส่วน เช่น การกำหนดความเป็นบิดา มารดา มาตรฐานการให้บริการ สิทธิของหญิงที่รับตั้งครรภ์แทน ในส่วนที่แตกต่างกันชัดเจนระหว่างกฎหมายของประเทศไทยกับประเทศอินเดีย คือ การจ่ายค่าตอบแทน ซึ่งตามกฎหมายหมายประเทศไทยได้กำหนดห้ามเป็นการเด็ดขาด แต่ในประเทศอินเดียไม่ได้มีข้อห้ามดังกล่าว และ ประเทศอินเดียได้เปิดกว้างสำหรับผู้ประสงค์จะให้มีการตั้งครรภ์แทน แต่ในประเทศไทยกำหนดให้เฉพาะคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ส่วนที่ประเทศอินเดียมีเพิ่มเติมจากประเทศไทย คือ การกำหนดสิทธิให้เด็กที่เกิดจากการตั้งครรภ์แทน ในการรับรู้ข้อมูลของตนจากผลการศึกษาจึงมีข้อเสนอแนะว่า ควรเพิ่มบทบัญญัติในกรณีที่คู่สมรส เป็นชาวต่างชาติทั้งคู่สามารถให้มีการตั้งครรภ์แทนได้ในประเทศไทย เพียงแต่ต้องมีข้อกาหนดที่มากกว่า ต่อมาเห็นว่าควรเพิ่มข้อกำหนดในเรื่องของสถานะของสัญญาการรับตั้งครรภ์แทนให้มีผลบังคับใช้ได้ ที่สำคัญประการหนึ่ง คือ นอกเหนือจากผู้ประกอบวิชาชีพตามข้อบังคับของแพทยสภาแล้ว ควรมีนักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์และนักกฎหมายเพิ่มเติมในการประเมินสภาพแวดล้อมของผู้ที่เกี่ยวข้อง และสุดท้ายควรบัญญัติเพิ่มเติมในส่วนของสิทธิเด็ก ที่จะรับรู้ข้อมูลของตนภายใต้กฎหมายนี้th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2017.133en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชากฎหมายมหาชน--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectเทคโนโลยีการเจริญพันธุ์มนุษย์--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับth_TH
dc.subjectเด็ก--สถานภาพทางกฎหมายth_TH
dc.titleการตั้งครรภ์แทนตามกฏหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์th_TH
dc.title.alternativeSurrogacy under surrogacy act on the protection of children born through assisted reproductive technologiesth_TH
dc.typeThesisen_US
dc.identifier.DOI10.14457/STOU.the.2017.133-
dc.identifier.urlhttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2017.133en_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis thesis aims to investigate the case of surrogacy under the Protection of Children Born through Medical Assisted Reproductive Technology Act, BE2558.With today's social and medical technology, surrogacy can be made easily. In addition, the cost of surrogacy in Thailand is not expensive. As a consequence, medical technology is used for a lot of surrogacy without the direct control law This study is a qualitative research by way of gathering the study of documents, including academic papers, textbooks, articles, research reports, academic reports, electronic media, and provisions of relevant legislation. Those materials were compiled and analyzed systematically to find ways to amend and improve the law. The study indicated that surrogacy in the United States vary from state to state. There are only some similarities in termination of pregnancy. The different laws in each state, resulting in the inequality of people in the same country. To evade the law that is forbidden or with difficult requirements, it may be possible to move to other state where the surrogate is allowed. However, the law in Thailand and India are similar such as determining parenthood, service standard, and the right of surrogate mothers. The distinct difference between the laws of Thailand and India is the payment of compensation, but in India there is no such prohibition. In addition, India is open for anyone who wishes to have a surrogate, but in Thailand it is only for legal spouses. What more in Indian law is the determination of the right of a child born through surrogacy to recognize his or her own information.The results of the study suggest that the law should be added in the case that if spouses are foreigners, both partners can use the service of surrogacy in Thailand. Later, there should be an addition of status of the surrogate contract. One important aspect is that, in addition to practitioners in accordance from the Medical Council Regulation, the psychologist, social workers and lawyers, as well as related person should be included in the environmental evaluation. Finally, additional provisions should be made on the part of children's right to know their own information under this law.en_US
dc.contributor.coadvisorวรรณวิภา เมืองถ้ำth_TH
Appears in Collections:Law-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib156690.pdfเอกสารฉบับเต็ม42.99 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons