Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/475
Title: | การตั้งครรภ์แทนตามกฏหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ |
Other Titles: | Surrogacy under surrogacy act on the protection of children born through assisted reproductive technologies |
Authors: | ภาณินี กิจพ่อค้า ธนัฐกรณ์ โภคินกรณ์พงศ์, 2515- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา วรรณวิภา เมืองถ้ำ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชากฎหมายมหาชน--วิทยานิพนธ์ เทคโนโลยีการเจริญพันธุ์มนุษย์--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ เด็ก--สถานภาพทางกฎหมาย |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีจุดมุ่งหมายในการศึกษากรณีการตั้งครรภ์แทนตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิด โดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ.2558 ด้วยสภาพสังคมและเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบัน ทำให้การตั้งครรภ์แทนสามารถทำได้โดยง่าย ประกอบกับคัาใช้จ่ายในการตั้งครรภ์แทนในประเทศไทยมีราคาไม่แพง ทำให้มีการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ เพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์แทนเป็นจำนวนมาก โดยไม่มีกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องโดยตรงมาควบคุม วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสารโดยการรวบรวมการศึกษาจากเอกสาร ประกอบด้วย เอกสารทางวิชาการ ตำรา หนังสือ บทความ รายงานการวิจัย รายงานวิชาการต่างๆ สื่ออิเล็คทรอนิคส์ บทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จากนั้นนำมาศึกษาเรียบเรียงแล้ววิเคราะห์อย่างเป็นระบบ เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงและพัฒนากฎหมายต่อไป ผลการศึกษาพบว่า การตั้งครรภ์แทนในประเทศสหรัฐอเมริกามีความแตกต่างกันไปตามแต่ละมลรัฐ มี เพียงบางส่วนที่คล้ายกันคือในเรื่องการยุติการตั้งครรภ์ และเห็นช่องว่างทางกฎหมายประการหนึ่งคือ การที่มี กฎหมายบังคับใช้แตกต่างกันในแต่่ละมลรัฐ และหากจะหลบเลี่ยงกฎหมายที่ต้องห้าม หรือมีข้อกาหนดที่ยุ่งยาก อาจมีการย้ายไปตั้งครรภ์แทนในมลรัฐที่สามารถทำได้และสะดวกกว่า แต่กฎหมายของประเทศไทยและประเทศอินเดียมีความคล้ายกันหลายส่วน เช่น การกำหนดความเป็นบิดา มารดา มาตรฐานการให้บริการ สิทธิของหญิงที่รับตั้งครรภ์แทน ในส่วนที่แตกต่างกันชัดเจนระหว่างกฎหมายของประเทศไทยกับประเทศอินเดีย คือ การจ่ายค่าตอบแทน ซึ่งตามกฎหมายหมายประเทศไทยได้กำหนดห้ามเป็นการเด็ดขาด แต่ในประเทศอินเดียไม่ได้มีข้อห้ามดังกล่าว และ ประเทศอินเดียได้เปิดกว้างสำหรับผู้ประสงค์จะให้มีการตั้งครรภ์แทน แต่ในประเทศไทยกำหนดให้เฉพาะคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ส่วนที่ประเทศอินเดียมีเพิ่มเติมจากประเทศไทย คือ การกำหนดสิทธิให้เด็กที่เกิดจากการตั้งครรภ์แทน ในการรับรู้ข้อมูลของตนจากผลการศึกษาจึงมีข้อเสนอแนะว่า ควรเพิ่มบทบัญญัติในกรณีที่คู่สมรส เป็นชาวต่างชาติทั้งคู่สามารถให้มีการตั้งครรภ์แทนได้ในประเทศไทย เพียงแต่ต้องมีข้อกาหนดที่มากกว่า ต่อมาเห็นว่าควรเพิ่มข้อกำหนดในเรื่องของสถานะของสัญญาการรับตั้งครรภ์แทนให้มีผลบังคับใช้ได้ ที่สำคัญประการหนึ่ง คือ นอกเหนือจากผู้ประกอบวิชาชีพตามข้อบังคับของแพทยสภาแล้ว ควรมีนักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์และนักกฎหมายเพิ่มเติมในการประเมินสภาพแวดล้อมของผู้ที่เกี่ยวข้อง และสุดท้ายควรบัญญัติเพิ่มเติมในส่วนของสิทธิเด็ก ที่จะรับรู้ข้อมูลของตนภายใต้กฎหมายนี้ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายมหาชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/475 |
Appears in Collections: | Law-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thesbib156690.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 42.99 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License