Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/479
Title: | การปฏิบัติต่อผู้ต้องขังป่วยในเรือนจำ |
Other Titles: | The treatment of sick prisoners in the prisons |
Authors: | ธานี วรภัทร์ ธนู ไม้แก้ว, 2490- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษ ภาณินี กิจพ่อค้า นัทธี จิตสว่าง |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชากฎหมายมหาชน--วิทยานิพนธ์ นักโทษ--การดูแล นักโทษ--การพยาบาล |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้ศึกษาแนวทางการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังป่วยในเรือนจำตามกฎหมายบังคับโทษของไทยและต่างประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์คือวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังป่วย และเปรียบเทียบการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังป่วยตามกฎหมายบังคับโทษของไทยและต่างประเทศ งานวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมาย โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยทางเอกสาร จากการเก็บข้อมูลบทบัญญัติทางกฎหมาย ตำราวิชาการ ผลงานการวิจัย เอกสารภาษาไทย และต่างประเทศ สถิติผู้ต้องขังป่วยทั่วประเทศจากกรมราชทัณฑ์ เรือนจำ/ทัณฑสถาน และสุ่มสัมภาษณ์ เจ้าหน้าที่พยาบาลเรือนจำ พยาบาลวิชาชีพ และพยาบาลเทคนิคของเรือนจำ/ทัณฑสถาน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ต้องขังป่วยเข้าใหม่หรือด้วยโรคเรื้อรังหรือเกิดจากความแออัดของ เรือนจำ ต้องได้รับการบำบัดรักษาจากแพทย์ 1) เรือนจำประสบปัญหาและอุปสรรคขาดแคลนแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ ยารักษาโรค เวชภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์จึงบูรณาการกับกระทรวง สาธารณสุขแต่งตั้งนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดหรือแพทย์ที่ได้รับมอบหมายเป็นแพทย์ประจำเรือนจำ บำบัดรักษาผู้ต้องขังป่วยแต่ผู้ต้องขังป่วยมีจำนวนมากในแต่ละวันทำให้การบำบัดรักษาผู้ต้องขังป่วยไม่ ทั่วถึงต้องเป็นการเลือกปฏิบัติเฉพาะผู้ต้องขังป่วยหนักเท่านั้นจะได้รับการรักษาจากแพทย์ประจำเรือนจำ, ส่วนเจ้าหน้าที่พยาบาลเรือนจำจะบำบัดรักษาผู้ต้องขังป่วยเบื้องต้น ปัญหาและอุปสรรคดังกล่าวต้อง จัดหาแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ ยารักษาโรค เวชภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้เพียงพอ โดยมีการปรับปรุงกฎหมายบังคับโทษของไทย จัดทุนให้กับนักศึกษาแพทย์ เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว มอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่แพทย์ประจำเรือนจำ จะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ประจำเรือนจำโดยเฉพาะได้ และจัดสรรงบประมาณค่ายารักษาโรค เวชภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้เพียงพอ 2) การส่งต่อผู้ต้องขังป่วยไปรักษาโรงพยาบาลนอกเรือนจำมีการจำ เครื่องพันธนาการมองว่าเป็นการโหดร้าย ทารุณแต่เมื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายบังคับโทษของต่างประเทศแล้วมีการจำเครื่องพันธนาการ เช่นเดียวกันจะแตกต่างที่ผู้มีอำนาจจำเครื่องพันธนาการเลือกใช้เครื่องพันธนาการไม่ตรงตามกฎหมาย ซึ่งเป็นปัญหาการบริหารจัดการภายในเรือนจำที่ต้องแก้ไขการปฏิบัติให้สอดคล้องกับกฎหมาย 3) สำหรับการบริการอาหารผู้ต้องขังป่วย และเสื้อผ้าผู้ต้องขังป่วย การเยี่ยมโดยอนุศาสนาจารย์และการแจ้งข่าวการป่วยของผู้ต้องขังกฎหมายบังคับโทษของไทยมิได้มีการบัญญัติไว้ซึ่งควรมีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้บัญญัติหลักกฎหมายไว้ชัดเจนสอดคล้องกับหลักสากลทั่วไป |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายมหาชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/479 |
Appears in Collections: | Law-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thesbib130318.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 21.26 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License