กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4893
ชื่อเรื่อง: | การจัดระบบการปลูกข้าวในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากของเกษตรกรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Rice cultivation system by farmers in the flooding areas of Phra Nakhon Si Ayutthaya Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา พัทธวรรณ สมดัง, 2517- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ เกษตรกร--ไทย--พระนครศรีอยุธยา ข้าว--การปลูก |
วันที่เผยแพร่: | 2557 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ลักษณะทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) การจัดระบบการปลูกข้าวในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก (3) ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการจัดระบบการปลูกข้าวในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการจัดระบบปลูกข้าวในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากของเกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรสองในสามเป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 53.23 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.64 คน มีประสบการณ์ทำนาเฉลี่ย 23.6 ปี เกษตรกรกรส่วนใหญ่เป็นสมาชิกการรวมกลุ่มทางการเกษตร โดยเป็นสมาชิก ธกส. มากที่สุด เคยอบรมเฉลี่ย 9.41 ครั้ง มีอาชีพหลักทำนา มีแรงงานภาคการเกษตรในครัวเรือนเฉลี่ย 1.81 คน พื้นที่ถือครองทั้งหมดเฉลี่ย 36.2 ไร่ โดยมีพื้นที่ของตนเอง ทำนาปีและนาปรังเฉลี่ย 21.04 ไร่ พื้นที่เช่าผู้อื่นทำนาปีและนาปรังเฉลี่ย 33.72 ไร่ รายได้จากการทำนาปีเฉลี่ย 8,851.2 บาทต่อไร่ รายได้จาการทำนาปรังเฉลี่ย 9,163 .00 บาทต่อไร่ ต้นทุนในการทำนาปีเฉลี่ย 4,869.81 บาทต่อไร่ ต้นทุนในการทำนาปรังเฉลี่ย 4,887.99 บาทต่อไร่ เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้ทุนของตนเองและใช้เงินทุนจาก ธกส. (2) เกษตรกรทั้งหมดทำนาจำนวน 2 ครั้ง โดยใช้ระบบการปลูกข้าว คือทำนาปี – นาปรังครั้งที่ 1 – เว้นปลูก โดยระยะเริ่มต้นการปลูกข้าวฤดูนาปี คือ เดือนพฤษภาคม ระยะเริ่มต้นการปลูกข้าวฤดูนาปรัง คือ เดือนธันวาคม มีการควบคุมระดับน้ำในฤดูนาปีและฤดูนาปรัง (3) เกษตรกรมีระดับความคิดเห็นต่อการจัดระบบการปลูกข้าวในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก อยู่ในระดับมาก 4 ประเด็น คือ ด้านนโยบายและวัตถุประสงค์ ด้านการปลูกข้าวครั้งที่ 1 ด้านการปลูกข้าวครั้งที่ 2 ด้านประโยชน์ที่เกษตรกรจะได้รับจากการจัดระบบการปลูกข้าวในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก (4) ในภาพรวมเกษตรกรประสบปัญหาระดับน้อย ประเด็นที่เกษตรกรประสบปัญหาระดับมากที่สุดคือ การจัดการน้ำ ข้อเสนอแนะของเกษตรกร คือ ต้องการเรียนรู้แนวทางการลดต้นทุนการผลิต |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4893 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
148144.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 16.36 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License