กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/489
ชื่อเรื่อง: การถ่ายโอนสถานศึกษาให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกรณีศึกษาจังหวัดเชียงราย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A transfer of educational institutions to Local Administrative Organizations : a case study of Chiang Rai province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปธาน สุวรรณมงคล, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปรีชา หงษ์ไกรเลิศ, อาจารย์ที่ปรึกษา
วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
วิสูตร บรรเจิดกิจ, 2500-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น -- ไทย -- เชียงราย
การถ่ายโอนสถานศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ (1) ศึกษาแนวทางการถ่ายโอนสถานศึกษาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (2) ศึกษาปัญหาอุปสรรค ของการถ่ายโอนสถานศึกษาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (3) เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาและอุปสรรคของการถ่ายโอนศึกษาให้องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น ผลการวิจัยพบว่า (1) แนวทางการถ่ายโอนสถานศึกษาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามกฎหมาย กำหนดให้ต้องเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมจัดการศึกษา ให้มีการกำหนดขอบเขตความรับผิดชอบการจัดการศึกษาระหว่างองค์กร กระจายอำนาจการจัดการศึกษาและบุคลากรให้กับหน่วยงานระดับภูมิภาคระดับสถานศึกษาและระดับท้องถิ่น (2) ปัญหาอุปสรรคของการถ่ายโอนสถานศึกษาจากการศึกษา พบว่า ขาดความชัดเจนในการกำหนดบทบาทหนัาที่ทำให้เกิดการซ้ำซ้อนในการปฎิบัติงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนมากยังไม่มีความพรัอมจัดการศึกษา บุคลากรฝ่ายถูกถ่ายโอนสถานศึกษาไม่มั่นใจการบริหารงานระบบสวัสดิการและความเป็นอิสระในการดำเนินงานภายหลังการถ่ายโอน ฝ่ายประชาสังคม เห็นว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขาดความความพร้อม และประสบการณ์ในการจัดการศึกษา การบริหารงานไม่โปร่งใส รวมทั้งควรมีการกำหนดนโยบายจัดการศึกษาที่ชัดเจนยั่งยืน สอดคลัองกับความต้องการของท้องถิ่นและศักยภาพที่มีอยู่ (3) แนวทางแก้ไขปัญหาและอุปสรรคของการถ่ายโอนสถานศึกษา คือรัฐควรมีนโยบายถ่ายโอนภารกิจ การจัดการศึกษาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ชัดเจน โดยมุ่งเนันพ้ฒนาการศึกษาด้วยวิธีกระจายอำนาจการจัดการศึกษา มีการกำหนดบทบาทหนัาที่ขอบเขตความรับผิดชอบระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันเองในการจัดการศึกษาร่วมกัน สนับสบุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความพร้อม ด้านงบประมาณ บุคลากร ระบบสวิสดิการ ระเบียบกฎหมายเพื่อรองรับการถ่ายโอนและเปิดโอกาสให์ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมตรวจสอบประเมินผลการจัดการศึกษา
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/489
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
114346.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.14 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons