Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/491
Title: | ประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานทำน้ำยางข้นด้วยวิธีเคมี |
Authors: | สมทรง อินสว่าง ทำนอง แท่นทอง, 2507- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ศริศักดิ์ สุนทรไชย |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์ น้ำเสีย--การบำบัด โรงงานทำน้ำยางข้น--การกำจัดของเสีย |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อ (1) วิเคราะห์ประสิทธิภาพของวิธีเคมีในการลดความสกปรกของน้ำเสียโรงงานทำน้ำยางข้น (2) เปรียบเทียบค่าความสกปรกของน้ำเสียที่เจ้าระบบบำบัดน้ำเสียก่อนและหลังการใช้วิธีเคมี (3) วิเคราะห์ประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสียก่อนและหลังการใช้วิธีเคมี และ (4) วิเคราะห์ค่าใช้จ่ายในการนำวิธีเคมีมาใช้ในการลดค่าความสกปรกของน้ำเสียโรงงานวัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อ (1) วิเคราะห์ประสิทธิภาพของวิธีเคมีในการลดความสกปรกของน้ำเสียโรงงานวัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อ (1) วิเคราะห์ประสิทธิภาพของวิธีเคมีในการลดความสกปรก ของน้ำเสียโรงงานทำน้ำยางข้น (2) เปรียบเทียบค่าความสกปรกของน้ำเสียที่เจ้าระบบบำบัดน้ำเสียก่อนและหลังการใช้วิธีเคมี (3) วิเคราะห์ประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสียก่อนและหลังการใช้วิธีเคมี และ (4) วิเคราะห์ค่าใช้จ่ายในการนำวิธีเคมีมาใช้ในการลดค่าความสกปรกของน้ำเสียโรงงานทำน้ำยางข้น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งการทดลอง โดยสุ่มแบบเจาะจงศึกษาโรงงานทำน้ำยาข้นในเขตอำเภอแกลง จังหวัดระยอง จำนวน 1 โรงงาน การทดลองมีการสร้างบ่อปรับสภาพสำหรับรวบรวมน้ำล้างที่เกิดจากเครื่องปันแยกและบ่อรับน้ำยาง ถังกวนและรวมตัวเป็นตะกอน และรางแยกยาง แล้วใช้สารเคมีชนิดสารสร้าง ตะกอนโพลีอิเลคโทรไลห์ประจุบวก เต็มลงไปในถังกวนและรวมตัวเป็นตะกอน เพื่ออาศัยกลไกการสะเทินประจุ การเกาะติดผิวและการเชื่อมต่อกันเร่งให้เนื้อยางที่เป็นสาเหตุของความสกปรกปนเปื้อนในน้ำเสียรวมตัวเป็นตะกอนขนาดใหญ่ ทำให้สามารถลัดแยกเนื้อยางออกจากน้ำเสียได้ก่อนที่จะระบายลงสู่ระบบบำบัดน้ำเสียของโรงงาน ซึ่งการทดลองมีการเก็บตัวอย่างน้ำเสีย จำนวน 5 ครั้ง เพื่อทำการวิเคราะห์หาค่าความสกปรกของน้ำเสียเพื่อเป็นข้อมูลก่อนและหลังการใช้วิธีเคมี แล้วนำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติแบบนัน-พาราเมตริก ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) วิธีเคมีสามารถลัดแยกเนื้อยางปนเบือนออกจากน้ำเสียได้โดยมีประสิทธิภาพในการลดค่าความสกปรกในรูปของปริมาณของแข็งแขวนลอย ร้อยละ 90 ซีโอดีและบีโอดี ร้อยละ 70 นอกจากนี้เนื้อยางที่ลัดแยกออกมายังสามารถแก้ไขปัญหาการไปอุดตันตามรางระบายน้ำเสียและลดการเกิดกลิ่นเหม็น จากการกองหมักหมมของเศษยางในบ่อบำบัดน้ำเสียได้ (2) ค่าความสกปรกในน้ำเสียที่เข้าระบบบำบัดน้ำเสียก่อนและหลังการใช้วิธีเคมี มีค่าไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 เนื่องจากจุดเก็บตัวอย่างเป็นการเก็บน้ำเสียที่เกิดขึ้นทั้งหมดของโรงงานก่อนส่งเข้าระบบบำบัดน้ำเสีย จงมีน้ำเสียจากแหล่งความสกปรกอื่นของโรงงานทำน้ำยางข้นระบายเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียด้วย (3) ประสิทธิภาพในการลดค่าความสกปรกของระบบบำบัดน้ำเสียก่อนและหลังการใช้วิธีเคมี ไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 เนื่องจากการทดลองไม่ได้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพหรือเปลี่ยนแปลงระบบบำบัดน้ำเสียแต่อย่างใด (4) รายจ่ายคงที่ของวิธีเคมีจากการสร้างระบบเพื่อวิธีการนี้ 1,750,000 บาท รายจ่ายจากการเดินระบบ 4,816.66 บาท/วัน และมีรายรับจากการขายยางที่ได้จากการลัดแยกออกเพื่อลดความสกปรก 3,328 บาท/วัน |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2545 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/491 |
Appears in Collections: | Health-Theses |
This item is licensed under a Creative Commons License