Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4946
Title: การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่องเยือนถิ่นกาญจนบุรี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในจังหวัดกาญจนบุรี
Other Titles: Development of an electronic book entitled visiting Kanchanaburi for Mathayom Suksa III students of schools in Kanchanaburi Province
Authors: วรรณา บัวเกิด, อาจารย์ที่ปรึกษา
หงษ์หยก ปลาตะเพียนทอง, 2511-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน -- การศึกษาเฉพาะกรณี
ภูมิศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) -- ไทย -- กาญจนบุรี
ภูมิศาสตร์ -- คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน
Issue Date: 2554
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง เยือนถิ่นกาญจนบุรี สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 (2) หาประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง เยือนถิ่นกาญจนบุรี สาหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ 80/80 และ(3) ศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง เยือนถิ่นกาญจนบุรี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มที่ใช้ในการทดลองหาประสิทธิภาพของนวัตกรรม จำนวน 42 คนเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาและรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง เยือนถิ่นกาญจนบุรี แบบทดสอบวัดผลระหว่างเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความคิดเห็นเพื่อวัดความพึงพอใจของนักเรียนต่อการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเครื่องมือได้รับการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาและด้านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ จากผู้เชี่ยวชาญ 6 ท่าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ประสิทธิภาพของกระบวนการ และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ ผลการศึกษาพบว่า (1) ได้สร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง เยือนถิ่นกาญจนบุรี สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีคุณภาพจากผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญและนามาหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ได้ค่าที่ยอมรับได้ ตั้งแต่ 0.67 ขึ้นไป และนาไปทดลองและหาประสิทธิภาพของนวัตกรรมกับกลุ่มทดลองใช้นวัตกรรม มีการปรับปรุงและแก้ไขจานวน 2 ครั้ง (2) ผลการหาประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เท่ากับ 83.03/81.11 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ ที่กาหนด 80/80 และ (3) ได้ผลการศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ อยู่ในระดับสูงมากที่สุดทุกข้อ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4946
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_127745.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.54 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons