Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4952
Title: ผลของการใช้กิจกรรมการแสดงกลวิทยาศาสตร์ในการสอนรายวิชา ว 204 วิทยาศาสตร์สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม จังหวัดนนทบุรี
Other Titles: The effects of using science show activities in the course Sci 204 science for Mathayom Suksa II students of Wat Khemaphirataram School in Nonthaburi province
Authors: ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
อนันต์พร เทียมเมฆ, 2501-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน -- การศึกษาเฉพาะกรณี
วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) -- ไทย -- นนทบุรี
วิทยาศาสตร์ -- การสอนด้วยสื่อ
วิทยาศาสตร์ -- กิจกรรมการเรียนการสอน
การศึกษาอิสระ -- หลักสูตรและการสอน
Issue Date: 2546
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา ว 204 วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างกลุ่มที่สอนโดยใช้กิจกรรมการแสดงกลวิทยาศาสตร์ กับกลุ่มที่สอนตามปกติ (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา ว 204 วิทยาศาสตร์ก่อนเรียนกับหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของกลุ่มที่สอนโดยใช้กิจกรรมการแสดงกลวิทยาศาสตร์ (3) เปรียบเทียบพฤติกรรมใฝ่รู้ใฝ่เรียนต่อวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างกลุ่มที่สอนโดยใช้กิจกรรมการแสดงกลวิทยาศาสตร์กับกลุ่มที่สอนตามปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม จังหวัดนนทบุรี ปีการศึกษา 2546 จำนวน 2 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 50 คน สุ่มมาเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองสอนโดยใช้กิจกรรมการแสดงกลวิทยาศาสตร์ กลุ่มควบคุมสอนตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา ว 204 วิทยาศาสตร์ และแบบวัดพฤติกรรมใฝ่รู้ใฝ่เรียนต่อวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน ของนักเรียนกลุ่มทดลอง สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองหลังเรียนสูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) พฤติกรรมใฝ่รู้ใฝ่เรียนต่อวิชาวิทยาศาสตร์หลังเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4952
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_83889.pdfเอกสารฉบับเต็ม377.37 kBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons