กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4964
ชื่อเรื่อง: ผลการใช้รูปหนังตะลุงเป็นสื่อการเรียนที่มีต่อทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดแหลมดินสอ จังหวัดพัทลุง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of using shadow play figures as instructional on english speaking skill of Prathom Suksa II Students at Wat Laemdinsaw School in Phatthalung Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ผุสดี กุฏอินทร์
อรอุมา พรหมจรรย์, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน--การศึกษาเฉพาะกรณี
ภาษาอังกฤษ--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)--ไทย--พัทลุง
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้รูปหนังตะลุงเป็นสื่อการเรียน และ (2) ศึกษาพฤติกรรมการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปหนังตะลุงเป็นสื่อการเรียน กลุ่มตัวอย่างของการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดแหลมดินสอ จังหวัดพัทลุง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 จํานวน 21 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนา ทักษะการ พูดภาษาอังกฤษ โดยใช้รูปหนังตะลุงเป็นสื่อการเรียน จํานวน 10 แผน แบบทดสอบวัดทักษะการพูดภาษาอังกฤษและแบบสังเกตพฤติกรรมการพูดภาษาอังกฤษ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีทักษะการพูดภาษาอังกฤษหลังเรียน โดยใช้รูปหนังตะลุงเป็นสื่อการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 และจากการสังเกตพฤติกรรมการพูดของนักเรียนพบว่านักเรียนมีพฤติกรรมการพูดอยู่ในระดับดี
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4964
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_128696.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.78 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons