Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5113
Title: การสร้างหนังสือส่งเสริมการอ่านเรื่อง "ณ เมืองบี่" สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านกลางมิตรภาพที่ 44 จังหวัดกระบี่
Other Titles: The construction of a reading enhancement book entitled "Stories of Krabi Province" for Prathom Suksa VI students of Ban Klang Mittraphap 44 School in Krabi Province
Authors: อภิรักษ์ อนะมาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
อุษณีย์ สงวนศรี, 2534-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน -- การศึกษาเฉพาะกรณี
การส่งเสริมการอ่าน -- ไทย -- กระบี่
การอ่านขั้นประถมศึกษา -- ไทย -- กระบี่
การศึกษาอิสระ -- หลักสูตรและการสอน
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างหนังสือส่งเสริมการอ่าน เรื่อง “ณ เมืองบี่” สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านกลางมิตรภาพที่ 44 จังหวัดกระบี่ และ (2) ตรวจสอบคุณภาพหนังสือส่งเสริมการอ่านเรื่อง “ณ เมืองบี่” ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จานวน 10 คน ในจังหวัดกระบี่ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ (1) หนังสือส่งเสริมการอ่านเรื่อง “ณ เมืองบี่” (2) แบบประเมินคุณภาพหนังสือส่งเสริมการอ่านโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ และ (3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน ซึ่งเป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยผลการศึกษาค้นคว้าอิสระมีดังนี้ (1) หนังสือส่งเสริมการอ่าน เรื่อง “ณ เมืองบี่” สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านกลางมิตรภาพที่ 44 จังหวัดกระบี่ มีขนาด แปดหน้ายก ประกอบด้วยเนื้อเรื่อง จานวน 10 เรื่อง คือ เรื่องเที่ยวงานกระบี่เบิกฟ้าอันดามัน เรื่องจาดเดือนสิบ เรื่องลอยเรือชาวเล เรื่องนางเบญจาตานานรักสามเส้าของเราสามคน เรื่องอาณาจักรเตยปาหนัน เรื่องท่องเที่ยวทัศนาเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขานอจู้จี้ เรื่องกาลครั้งหนึ่ง ณ เกาะลันตาใหญ่ เรื่อง “ลิเกป่า” คามั่นสัญญาที่ให้ไว้ต่อโต๊ะอะดัม เรื่อง “สวนพฤกษาพูดได้” แหล่งเรียนรู้นอก ชั้นเรียน และเรื่อง “ภารกิจของสิลันตา” เทวดาในร่างหอยชักตีน และ (2) ผลการตรวจสอบคุณภาพของหนังสือโดยผู้ทรงคุณวุฒิพบว่า คุณภาพของหนังสือด้านลักษณะของหนังสือ ด้านการใช้ภาษา ด้านเนื้อหา และด้านคุณค่าของหนังสือมีความเหมาะสมมากที่สุดทุกด้าน มีค่าเฉลี่ย 4.78 และผลการตรวจสอบคุณภาพโดยนักเรียนด้านลักษณะของหนังสือ ด้านการใช้ภาษา ด้านเนื้อหา และด้านคุณค่าของหนังสือ มีความเหมาะสมมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.94 สรุปว่าหนังสือส่งเสริมการอ่านที่สร้างขึ้นมีคุณภาพเหมาะสมในระดับมากที่สุด
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5113
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_162753.pdfเอกสารฉบับเต็ม53.67 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons