Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5117
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorประภาพรรณ เอี่ยมสุภาษิต, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorอุษณีย์ งานสกุล, 2512-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-03-28T07:54:08Z-
dc.date.available2023-03-28T07:54:08Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5117en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะของงานวิจัยด้านสภาพปัญหาการจัดการศึกษาใน ระดับปฐมวัยศึกษา (2) สังเคราะห์เชิงคุณภาพของงานวิจัยด้านสภาพปัญหาการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัย ศึกษา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ วิทยานิพนธ์ / ปริญญานิพนธ์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จํานวน 28 เรื่อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) แบบประเมินคุณภาพงานวิจัย (2) แบบสรุปคุณลักษณะของงานวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่า ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) คุณลักษณะของงานวิจัยปีที่พิมพ์เผยแพร่มากที่สุดคือปี พ.ศ. 2540 และปี พ.ศ. 2541 สถาบันที่ผลิตงานวิจัยมากที่สุดคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงสํารวจ ผู้วิจัยศึกษากลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มมากที่สุด ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอนมากที่สุด งานวิจัยร้อยละ 92.86 ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ โดยตรวจสอบความตรงมากที่สุด ใช้เครื่องมือที่สร้างขึ้นเอง สถิติพรรณนาที่ผู้วิจัยใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลมากที่สุดคือร้อยละ สถิติอ้างอิงที่ผู้วิจัยใช้คือการทดสอบค่าที (2) ผลการสังเคราะห์เชิงคุณภาพของงานวิจัย แบ่งประเด็นที่ศึกษาได้ 4 ประเด็น คือ (2.1) สภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาปฐมวัยศึกษา จํานวน 14 เรื่อง ซึ่งผลการวิจัยมีความสอดคล้องกันคือโรงเรียนขาดแคลนงบประมาณในการสนับสนุน ครูผู้สอน ไม่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง บุคลากรครูมีจํานวนไม่เพียงพอ ขาดแคลนสื่อและอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และผู้ปกครองไม่เข้าใจหลักการเตรียมความพร้อมให้เด็ก (2.2) สภาพและปัญหาการใช้หลักสูตรในระดับปฐมวัยศึกษา มีจํานวน 2 เรื่อง ซึ่งผลการวิจัยสอดคล้องกันคือ ครูผู้สอน ผู้บริหารโรงเรียนไม่ให้ความสําคัญในเรื่องหลักสูตรปฐมวัย ครูปฐมวัยที่สอนในระดับชั้นที่ต่างกันเข้าใจสภาพหลักสูตรปฐมวัยไม่แตกต่างกัน และผู้ปกครองขาดความรู้ความเข้าใจในหลักสูตรปฐมวัย (2.3) สภาพและปัญหาการบริหารจัดการในสถานศึกษาปฐมวัยศึกษา มีจํานวน 9 เรื่อง พบว่าจํานวนนักเรียนมีมากเกินเกณฑ์ที่กระทรวงกําหนด สภาพห้องเรียนไม่เอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนบุคลากรครูทําหน้าที่หลายอย่างไม่มีเวลาดูแลนักเรียน นโยบายของโรงเรียนไม่เอื้อต่อการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนขาดคู่มือครูในระดับปฐมวัย และ (2.4) สภาพและปัญหาการพัฒนาบุคลากรในสถานศึกษาปฐมวัยศึกษา มีจํานวน 3 เรื่อง พบว่ามีความสอดคล้องกันคือ บุคลากรครูขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการศึกษาระดับปฐมวัย ขาดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ขาดการวางแผนการใช้บุคลากรที่มีประสิทธิภาพ และขาดงบประมาณในการพัฒนาครูth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน -- การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการศึกษาปฐมวัยth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ -- หลักสูตรและการสอนth_TH
dc.titleการสังเคราะห์วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิตสาขาการศึกษาปฐมวัย ด้านสภาพปัญหาการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยศึกษาth_TH
dc.title.alternativeA synthesis of master's degree theses on the state and problems of instruction at the early childhood education levelen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_122077.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.24 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons