กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5117
ชื่อเรื่อง: | การสังเคราะห์วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิตสาขาการศึกษาปฐมวัย ด้านสภาพปัญหาการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยศึกษา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Synthesis of master's degree theses on the state and problems of instruction at the early childhood education level |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ประภาพรรณ เอี่ยมสุภาษิต อุษณีย์ งานสกุล, 2512- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน--การศึกษาเฉพาะกรณี การศึกษาปฐมวัย การศึกษาอิสระ--หลักสูตรและการสอน |
วันที่เผยแพร่: | 2550 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะของงานวิจัยด้านสภาพปัญหาการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยศึกษา (2) สังเคราะห์เชิงคุณภาพของงานวิจัยด้านสภาพปัญหาการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยศึกษา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ วิทยานิพนธ์ / ปริญญานิพนธ์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จํานวน 28 เรื่อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) แบบประเมินคุณภาพงานวิจัย (2) แบบสรุปคุณลักษณะของงานวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) คุณลักษณะของงานวิจัยปีที่พิมพ์เผยแพร่มากที่สุดคือปี พ.ศ. 2540 และปี พ.ศ. 2541 สถาบันที่ผลิตงานวิจัยมากที่สุดคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงสํารวจ ผู้วิจัยศึกษากลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มมากที่สุด ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอนมากที่สุด งานวิจัยร้อยละ 92.86 ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ โดยตรวจสอบความตรงมากที่สุด ใช้เครื่องมือที่สร้างขึ้นเอง สถิติพรรณนาที่ผู้วิจัยใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลมากที่สุดคือร้อยละ สถิติอ้างอิงที่ผู้วิจัยใช้คือการทดสอบค่าที (2) ผลการสังเคราะห์เชิงคุณภาพของงานวิจัย แบ่งประเด็นที่ศึกษาได้ 4 ประเด็น คือ (2.1) สภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาปฐมวัยศึกษา จํานวน 14 เรื่อง ซึ่งผลการวิจัยมีความสอดคล้องกันคือโรงเรียนขาดแคลนงบประมาณในการสนับสนุน ครูผู้สอน ไม่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง บุคลากรครูมีจํานวนไม่เพียงพอ ขาดแคลนสื่อและอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และผู้ปกครองไม่เข้าใจหลักการเตรียมความพร้อมให้เด็ก (2.2) สภาพและปัญหาการใช้หลักสูตรในระดับปฐมวัยศึกษา มีจํานวน 2 เรื่อง ซึ่งผลการวิจัยสอดคล้องกันคือ ครูผู้สอน ผู้บริหารโรงเรียนไม่ให้ความสําคัญในเรื่องหลักสูตรปฐมวัย ครูปฐมวัยที่สอนในระดับชั้นที่ต่างกันเข้าใจสภาพหลักสูตรปฐมวัยไม่แตกต่างกัน และผู้ปกครองขาดความรู้ความเข้าใจในหลักสูตรปฐมวัย (2.3) สภาพและปัญหาการบริหารจัดการในสถานศึกษาปฐมวัยศึกษา มีจํานวน 9 เรื่อง พบว่าจํานวนนักเรียนมีมากเกินเกณฑ์ที่กระทรวงกําหนด สภาพห้องเรียนไม่เอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนบุคลากรครูทําหน้าที่หลายอย่างไม่มีเวลาดูแลนักเรียน นโยบายของโรงเรียนไม่เอื้อต่อการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนขาดคู่มือครูในระดับปฐมวัย และ (2.4) สภาพและปัญหาการพัฒนาบุคลากรในสถานศึกษาปฐมวัยศึกษา มีจํานวน 3 เรื่อง พบว่ามีความสอดคล้องกันคือ บุคลากรครูขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการศึกษาระดับปฐมวัย ขาดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ขาดการวางแผนการใช้บุคลากรที่มีประสิทธิภาพ และขาดงบประมาณในการพัฒนาครู |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5117 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext_122077.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 5.24 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License