กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5168
ชื่อเรื่อง: การมีส่วนร่วมทางการเมืองของคนพิการทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหวตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 : กรณีศึกษาจังหวัดนครราชสีมา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Political participation of the physical or the movement handicapped according to the constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2540 : a case study of Nakhon Ratchasima province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิวัฒน์ เอี่ยมไพรวัน, อาจารย์ที่ปรึกษา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
ดวงดาว ปรอยกระโทก, 2517-
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
การมีส่วนร่วมทางการเมือง
คนพิการ--สถานภาพทางกฎหมาย
คนพิการ--ไทย--นครราชสีมา
การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตคุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพป็ญหาและสถานการณ์มั่วไปในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของคนพิการทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหว ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 (2) ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของคนพิการทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหว ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 (3) ให้ข้อเสนอแนะต่างๆ เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของคนพิการทางร่างกายและการเคลื่อนไหว ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพความพิการเป็นข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง แต่สภาพแวดล้อมเป็นอุปสรรคในการมีส่วนร่วมทางการเมือง เพราะไม่มีการปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับความพิการ คนพิการทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหวขาดสิ่งอำนวยความสะดวกที่เป็นสาธารณะและสิ่งอำนวยความสะดวกส่วนบุคคล ไม่มีช่องทางในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง นอกจากการไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง การตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลเป็นเรื่องที่ไกลตัว กลัวจะเกิดกันตรายกับตนเองและครอบครัว (2) ครอบครัวและสังคมรอบข้างขาดการส่งเสริมสนับสนุนให้คนพิการทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหว เข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง เพราะไม่เข้าใจถึงปัญหาและความต้องการที่แทัจริงของคนพิการ คนพิการไต้รับข้อมูลข่าวสารทางการเมือง อย่างเพียงพอ ส่วนมากจากสื่อโทรทัศน์ แต่การได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเมืองไม่เทียงพอที่จะทำให้คนพิการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองได้อย่างเท่าเทียมกับบุคคลทั่วไป (3) กำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์และความคุ้มครองคนพิการ เพื่อไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม รวมทั้งสนับสนุนให้คนพิการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ปราศจากอุปสรรค
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5168
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
126658.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.45 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons