กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5170
ชื่อเรื่อง: | บทบาททางการเมืองของกลุ่มรักเชียงใหม่ 51 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Political roles of Rak Chiangmai 51 Group |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ธโสธร ตู้ทองคำ ธนพล อินทะมูล, 2512- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี กลุ่มแม่รักเชียงใหม่--กิจกรรมทางการเมือง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี การศึกษาอิสระ--รัฐศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2552 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจชัยที่นำมาสู่การมีบทบาททางการเมืองของกลุ่มรักเชียงใหม่ 51 (2) บทบาททางการเมืองของกลุ่มรักเชียงใหม่ 51 (3) ผลกระทบจากการแสดงบทบาททางการเมืองของกลุ่มรักเชียงใหม่ 51 ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยที่นำมาสู่การมีบทบาททางการเมือง ได้แก่ วิวัฒนาการของการเมืองภาคประชาชน ใครงสร้างโอกาสทางการเมืองแบบเปิด การมีพื้นที่สาธารณะ การได้รับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประชาชนจากนโยบายรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เกิดการรวมกลุ่มที่นำไปสู่การจัดตั้งกลุ่มรักเชียงใหม่ 51 (2) บทบาททางการเมือง ได้แก่ การติดต่อเชื่อมโยงประสานความร่วมมือทันพรรคเพื่อไทยหน่วยงานราชการ นักการเมืองท้องถิ่น กลุ่มถิ่นที่เกี่ยวข้อง และประชาชนในชุมชน การเรียกร้องแก้ไขรัฐธรรมมุญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 การวิพากษวิจารณ์รัฐบาล การประท้วงรัฐบาลเกี่ยวกับกฎหมายสองมาตรฐานการกดดันและขับไล่ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 การเรียกร้องรัฐบาลแก้ไขปัญหาลำใย การปิดล้อมการประชุมหอการค้าทั่วไป ครั้งที่ 27 การจัดรายการสภากาแฟของกลุ่มรักเชียงใหม่ 51 การจัดรายการสถานีวิทยุเอฟเอ็ม 92.50 เมกกะเฮิรตซ์ จังหวัดเชียงใหม่ การอบรมมหาวิทยาลัยล้านนา การเสนอความเดือดร้อนของประชาชนให้หน่วยงานรัฐ (3) ผลกระทบ ได้แก่ เกิดความขัดแย้งกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ หน่วยงานราชการ รัฐบาลและประชาชนบางส่วน เกิดความร่วมมือกับพรรคเพื่อไทย นักการเมืองฝ่ายเดียวกัน และกลุ่มถิ่นที่เกี่ยวข้อง การทำให้นักการเมืองที่กลุ่มสนับสมุนได้รับการเลือกตั้ง เกิดความแตกแยกกับประชาชนที่มีความคิดเห็นแตกต่างและสนับสมุนกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้าม เกิดการรวมตัวของประชาชนที่มีความเห็นตรงกันกับแนวคิดของกลุ่ม เกิดความตื่นตัวในการแสดงออกทางการเมืองเพื่มขึ้น สร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่ม |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5170 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Pol-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
127304.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.59 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License