Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5175
Title: การสื่อสารทางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์กับพรรคเพื่อไทยผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554
Other Titles: Political communication of Democratic Party and Pheu Thai Party for general election via social networks in 2554 B.E.
Authors: วรวลัญช์ โรจนพล, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปิยะ มีอนันต์, 2516-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง --การศึกษาเฉพาะกรณี
พรรคประชาธิปัตย์
พรรคเพื่อไทย
การสื่อสารทางการเมือง--ไทย
การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง
Issue Date: 2554
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการสื่อสารทางการเมืองผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของพรรคประชาธิปัตย์กับพรรคเพื่อไทยในช่วงการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2554 2) เพื่อเปรียบเทียบการสื่อสารทางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์กับพรรคเพื่อไทยผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ในช่วงการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554 ผลการศึกษาพบว่า 1) การสื่อสารทางการเมืองของพรรคประชาธปีตย์กับพรรคเพื่อไทย ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟสบุคในช่วงการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554 ทั้งสองพรรคมีการนำเสนอใน 5 ด้าน คือ (1) การนำเสนอตัวบุคคลที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี (2) การนำเสนอนโยบายของพรรค (3) การแสดงข่าวสารการเคลื่อนไหวของพรรค (4) การวิจารณ์พรรคคู่แข่งหรือฝ่ายตรงข้าม (5) การแจ้งข่าวสารและกิจกรรมของพรรค โดยประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นผ่านทางเฟสบุคของแต่ละพรรคได้อย่างเสรี แต่เป็นที่สังเกตว่าข้อแสดงความคิดเห็นที่ปรากฎบนเฟสบุค จะเป็นข้อความที่สนับสนุน ชื่นชม หรือชื่นชอบและให้ข้อคิดเห็นกับการสื่อสารทางการเมืองของทั้งสองพรรค และกลุ่มเป้าหมายยังอยู่ในวงจำกัด 2) เมื่อเปรียบเทียบการสื่อสารทางการเมืองของพรรคประชาธปัตย์กับพรรคเพื่อไทย ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ ช่วงการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554 พบว่าทั้งสองพรรคได้ใช้เฟสบุคของพรรค มาใช้ประโยชน์ในแง่ของการมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงระหว่างประชาชนกับพรรคการเมืองเหมือนกัน และยังมุ่งเพื่อการหาเสียงและสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้ง มีความเป็นประชานิยมทั้งสองพรรค ข้อมูลที่ปรากฎยังขาดความน่าเชื่อ คือ เพราะมีกองข่าวสารจากภายนอก ผลการศึกษายังพบว่า พรรคประชาธิปิตย์จะมีความโดดเด่นด้านนโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิต ข้อความมีรายละเอียดครบถ้วนเป็นข้อความเชิงพรรณนา ส่วนพรรคเพื่อไทยจะโดดเด่นในนโยบายด้านการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ รูปแบบข้อความสั้น กระชับ นโยบายที่นำเสนอมีความเป็นรูปธรรมเข้าใจง่าย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5175
Appears in Collections:Pol-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
128676.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.59 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons