กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5230
ชื่อเรื่อง: | การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 จังหวัดปราจีนบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Academic management of school administrators under the Secondary Education Service Area Office 7 in Prachin Buri Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กุลชลี จงเจริญ ศึกษาศาสตร์ อาจิณกิจ, 2511- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี การบริหาร--การศึกษาและการสอน การศึกษาอิสระ--ศึกษาศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 จังหวัดปราจีนบุรี และ (2) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสภาพการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 จังหวัด ปราจีนบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหาร ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนมัธยมศึกษาในอำเภอกบินทร์บุรีจังหวัดปราจีนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 217 คนเครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) สภาพการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 จังหวัดปราจีนบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก และ (2) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสภาพการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 จังหวัดปราจีนบุรี มีดังนี้ ปัญหาด้านการวางแผนงานวิชาการได้แก่ งานนโยบายระดับประเทศมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงานปรับตามไม่ทัน และภาระงานในกลุ่มงานบริหารวิชาการมากเกินไป ด้านการดำเนินงาน บริหารงานวิชาการ ได้แก่ ครูขาดความรู้ในการทำวิจัยในขั้นเรียน ขาดสื่อนวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอน การนิเทศ ติดตาม ประเมินผลไม่เป็นระบบ และการจัดหาครูผู้สอนไม่ตรงตามรายวิชา และด้านการส่งเสริมและ ประสานงานวิชาการ ได้แก่ ขาดการประสานงานในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาสนับสนุนการเรียนการสอน ข้อเสนอแนะการแก้ปัญหา พบว่า ด้านการวางแผนงานวิชาการ ได้แก่ ควรลดภาระงานที่สนองนโยบายรัฐบาล ด้านการดำเนินงานบริหารงานวิชาการ ได้แก่ ควรส่งเสริมให้ครูจัดทำวิจัยในชั้นเรียน ควรส่งเสริมการจัดทำ สื่อนวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอน ควรมีการนิเทศ ติดตาม ประเมินผลอย่างเป็นระบบ และควรมีการจัดหาครูผู้สอนให้ตรงตามรายวิชา ด้านการส่งเสริมและประสานงานวิชาการ ได้แก่ ควรนำวิทยากรท้องถิ่นมาให้ความรู้แก่นักเรียน และควรสร้างเครือข่ายส่งเสริมด้านวิชาการในท้องถิ่น |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5230 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | 16.4 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License