กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5242
ชื่อเรื่อง: แนวความคิดเรื่องสิทธิผู้ต้องขังตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Concept of the prisoners rights according to the constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2550
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปธาน สุวรรณมงคล
กฤษกร บุญชนะเมธี, 2505-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี
นักโทษ--ไทย--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ.
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสาระสำคัญของสิทธิผู้ต้องขังตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (2) ศึกษาปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับสิทธิของผู้ต้องขัง (3) เสนอแนะแนวทางการปรับปรุงแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับสิทธิของผู้ต้องขัง ผลการวิจัยพบว่า (1) สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับสิทธิผู้ต้องขัง ได้แก่ การบัญญัติรับรองการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังในประเทศไทยมีความสอดคล้องตามข้อกำหนดมาตรฐานขั้นตํ่าของสหประชาชาติเป็นส่วนใหญ่ (2) ปัญหา อุปสรรคเกี่ยวกับสิทธิผู้ต้องขัง ไต้แก่ การปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง และกฎหมายราชทัณฑ์มุ่งที่จะบัญญัติหน้าที่ของผู้ต้องขังมากกว่าสิทธิของผู้ต้องขังการลงโทษทางวินัยแก่ผู้ต้องขังมิได้มีการกำหนดมาตรฐาน และวิธีการลงโทษไว้โดยชัดแจัง และไม่ได้แยกแยะการทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงกับการทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงไว้การให้เจ้าพนักงานใช้ดุลยพินิจลงโทษ การจำแนกลักษณะผู้ต้องขัง และการใช้เครี่องพันธนาการ ตรวนขนาดใหญ่และการลงโทษเฆี่ยน การขังในห้องมืด ปัญหาด้านงบประมาณ ปัญหาด้านบุคลากร ด้านการแพทย์ปัญหาด้านอาคารสถานที่ ปัญหาการขาดการควบคุม การใช้อำนาจของเจ้าพนักงานหรือศาลโดยองค์กรภายนอก (3) ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหา คือ รัฐต้องให้การสนับสนูนด้านงบประมาณเพิ่มขึ้น พัฒนาเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ให้มีคุณภาพ ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมและปรับปรุงระบบการประเมินผลเรือนจำให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5242
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
130398.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.56 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons