Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5270
Title: | ขวัญในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนแพร่ปัญญานุกูล จังหวัดแพร่ |
Other Titles: | Morale in work performance of school personnel in Phrae Panyanukul School in Phrae Province |
Authors: | อรรณพ จีนะวัฒน์ สายสุนีย์ แสงเมือง, 2523- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี ขวัญในการทำงาน--ไทย--แพร่ การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา ครู |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับขวัญในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนแพร่ปัญญานุกูล จังหวัดแพร่ (2) เปรียบเทียบระดับขวัญในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนแพร่ปัญญานุกูล จังหวัดแพร่ จำแนกตามเพศ ตำแหน่งและประสบการณ์ด้านการสอน และ (3) ศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางและสวัสดิการในการเสริมสร้างขวัญแก่ครูในโรงเรียนแพร่ปัญญานุกูล จังหวัดแพร่ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนแพร่ปัญญานุกูล จังหวัดแพร่ จำนวนทั้งสิ้น 57 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบเกี่ยวกับระดับขวัญในการปฏิบัติงานของครูมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .90 และ 2) แบบสัมภาษณ์ เป็นแนวคำถามเกี่ยวกับ ข้อเสนอแนะแนวทางและสวัสดิการต่างๆ ในการเสริมสร้างขวัญให้แก่ครู การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ขวัญในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนแพร่ปัญญานุกูล จังหวัดแพร่ ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุดเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านความรู้สึกรับผิดชอบ ด้านความรู้สึกพึงพอใจในลักษณะงาน ด้านความรู้สึกมั่นคงและปลอดภัย ด้านความสัมพันธ์ในหน่วยงาน ด้านความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง และด้านความรู้สึกประสบผลสำเร็จ (2) ครูเพศชาย ครูตำแหน่งพนักงาน และครูที่มีประสบการณ์การสอนน้อยกว่า 10 ปี มีขวัญใน การปฏิบัติงานมากกว่าครูเพศหญิง ครูตำแหน่งราชการ และครูที่มีประสบการณ์ 10 ปีขึ้นไป และ (3) แนวทางและสวัสดิการในการเสริมสร้างขวัญแก่ครูในโรงเรียนแพร่ปัญญานุกูล จังหวัดแพร่ ได้แก่ การจัดหาสื่อวัสดุอุปกรณ์ เทคโนโลยีที่ทันสมัยมาสนับสนุนการทำงานของครู การส่งเสริมสนับสนุนให้ครูมีโอกาสเข้ารับการอบรมสัมมนาเพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการทำงาน และครูควรได้รับการพิจารณาความดีความชอบประจำปีอย่างเป็นธรรม |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5270 |
Appears in Collections: | Edu-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
149013.pdf | 13.48 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License