Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5278
Title: | การดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Student help-care operation system of basic education schools under Bangkok Metropolis |
Authors: | สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์ สำเนียง กอเดช, 2512- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี นักเรียน--การดูแล |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความคิดเห็นของครูต่อการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกรุงเทพมหานคร (2) เปรียบเทียบการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกรุงเทพมหานคร จำแนกตาม เพศ อายุ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูโรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตจตุจักร ในปืการศึกษา 2552 จากการเปิดตารางเคร็จซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan อ้างในผ่องศรี วาณิชย์สุกวงศ์ 2545:103) และได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 180 คน โดย การสุ่มอย่างง่ายตามสัดส่วนของครูแต่ละโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม ชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ ค่าความแปรปรวนทางเดียว และเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า (1) การดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกรุงเทพมหานคร พบว่าโดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (2) เปรียบเทียบการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกรุงเทพมหานคร จำแนกตามเพศ โดยภาพรวม พบว่าครูชายและครูหญิงมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าครูชายและครูหญิงมีความคิดเห็นในด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล และด้านการคัดกรองนักเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 จำแนกตามอายุมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และครูที่มีอายุ 20-30 ปีและครูที่มีอายู 31-40 ปีในด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ครูที่มีอายุ 20-30 ปี และครูที่มีอายุ 41 ปีขึ้นไป มีความคิดเห็นในด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน ด้านการส่งต่อแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ครูที่มีอายุ 31-40 ปี และครูที่มีอายุ 41 ปี ขึ้นไป มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันในทุกด้าน จำแนกตามวุฒิการศึกษา โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกันจำแนกตามประสบการณ์โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5278 |
Appears in Collections: | Edu-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
128736.pdf | 4.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License