Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5282
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างการเสริมพลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษากับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูสังกัดเทศบาลเมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Other Titles: The relationship between empowerment of school administrators and work performance satisfaction of municipal school teachers under Hua Hin Municipality, Prachuap Khiri Khan Province
Authors: เก็จกนก เอื้อวงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุธามาศ สังเฉย, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ผู้บริหารโรงเรียน--ไทย--ประจวบคีรีขันธ์
ครู--ความพอใจในการทำงาน.--ไทย--ประจวบคีรีขันธ์
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการเสริมพลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาให้ครูสังกัดเทศบาลเมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (2) ศึกษาระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูสังกัดเทศบาลเมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเสริมพลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษากับความพึงพอใจในการ ปฏิบัติงานของครูสังกัดเทศบาลเมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูสังกัดเทศบาลเมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 113 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามเกี่ยวกับการเสริมพลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา และแบบสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .87 และ.90 ตามลำดับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) การเสริมพลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดเทศบาล เมืองหัวหินในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก (2) ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูสังกัดเทศบาลเมืองหัวหิน ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และ (3) การเสริมพลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดเทศบาลเมืองหัวหิน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูในภาพรวมอยู่ในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5282
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
152112.pdf6.02 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons