Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5284
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorสุรชัย คุ้มสมบัติ, 2513-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-04-02T17:00:21Z-
dc.date.available2023-04-02T17:00:21Z-
dc.date.issued2546-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5284-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (2) เปรียบเทียบความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ จำแนกตามเพศ อายุ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการ ทำงาน (3) รวบรวมปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 84 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มาตรประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการศึกษาพบว่า (1) ข้าราชการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ พึงพอใจในการปฏิบัติงานโดยภาพรวมระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาปัจจัยจูงใจ พบว่า ด้านความรับผิดชอบ ความสำเร็จของงาน การได้รับการยอมรับนับถือ ลักษณะของงานพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การงานพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับปัจจัยเกื้อหนุนด้านสภาพการทำงาน เงินเดือนและสวัสดิการ นโยบายและการบริหารงาน พึงพอใจ อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความมั่นคงในงาน พึงพอใจอยู่ใน ระดับมาก (2) ข้าราชการที่มีเพศ อายุ วุฒิการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน (3) ปัญหา ได้แก่ งานที่ได้รับมอบหมายไม่ตรงกับความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ ภาระงานพิเศษมากเกินไป นโยบายและระบบการบริหารงาน ไม่ชัดเจน บุคลากรขาดการช่วยเหลือและร่วมมือกันในการทำงาน โดยมีข้อเสนอแนะ ได้แก่ ควรมอบหมายงานให้ตรงกับความรู้ความสามารถและประสบการณ์ ควรมีระบบการกลั่นกรองเรื่อง ที่มีประสิทธิภาพ ควรมีการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและกำหนดนโยบายร่วมกัน ควรจัดกิจกรรม เสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันเป็นระยะ และควรพัฒนาบุคลากรด้านคุณธรรม จริยธรรมth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceReformated digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ--ข้าราชการ--ความพอใจในการทำงานth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษาth_TH
dc.titleความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการth_TH
dc.title.alternativeJob satisfaction of officials' performance in Bureau of Policy and Strategy Office of the Permanent Secretary Ministry of Educationen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
83885.pdf2.5 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons