กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5330
ชื่อเรื่อง: | พฤติกรรมการบริโภคกาแฟสดในเขตกรุงเทพมหานคร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Fresh coffee consuming behavior in Bangkok Metropolis |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ฉัตรชัย ลอยฤทธิวุฒิไกร เพ็ชรรัตน์ ยิ้มเจริญ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ประเสริฐ สุทธิประสิทธิ์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--วิทยานิพนธ์ กาแฟ พฤติกรรมผู้บริโภค--ไทย--กรุงเทพฯ |
วันที่เผยแพร่: | 2550 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพึ่อศึกษา (1) พฤติกรรมของผู้บริโภคกาแฟสด (2) ปัจจัยทางการตลาดต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคกาแฟสด (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการบริโภคกาแฟสด (4) ความแตกต่างระหว่างพฤติกรรมการบริโภคกับปัจจัยทางการตลาดการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ตัวอย่าง เป็นผู้บริโภคกาแฟสดในเขตกรุงเทพมหานครมีอายุระหว่าง 15-70 ปี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าเอฟ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์ SPSSผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชายเล็กน้อย มีอายุระหว่าง 31-40 ปี มากที่สุด มีการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่ามากที่สุด และมีอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจมากที่สุด และมีรายได้มากกว่า 30,001 บาทต่อเดือนมากที่สุด มีสถานภาพเป็นโสดสูงสุด ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าในด้านพฤติกรรมการบริโภคนั้น ผู้บริโภคนิยมดื่มกาแฟช่วงเช้ามากที่สุด ส่วนสาเหตุที่ดื่มนั้นเพราะขอบในรสชาติของกาแฟสดมากที่สุด นิยมรสเข้มข้นหวานมัน โดยเฉพาะผู้บริโภคที่เป็นผู้หญิง ส่วนผู้ชายจะนิยมรสขมมากกว่า ราคาต่อแก้วอยู่ที่ 30-39 บาท ผู้บริโภคให์ความสำคัญกับส่วนประสมทางการตลาด ในระดับมากที่สุด คือปัจจัยด้านกระบวนการให้บริการ โดยเฉพาะในเรื่อง ความแน่นอนคงที่ของรสชาติ ผู้บริโภคให้ความสำคัญในระดับมาก ได้แก่ ปัจจัยด้านพนักงานผู้ให้บริการ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการให้บริการ ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ปัจจัยด้านราคา และปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ส่วนปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด ผู้บริโภคให้ความสำคัญในระดับปานกลางเท่านั้น และให้ความสำคัญกับการ ส่งเสริมการขายมากกว่าสื่อการโฆษณา |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5330 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
107650.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 5.44 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License