Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5334
Title: การศึกษาสาเหตุและแนวทางป้องกันการออกกลางคันของนักศึกษากลุ่มเสี่ยงวิทยาลัยการอาชีพเซกา จังหวัดบึงกาฬ
Other Titles: A study of the causes and approach for prevention of drop-outs of risky group students of Seka Industrial and community Education College in Bueng Kan Province
Authors: อรรณพ จีนะวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุวิมล ผิวสว่าง, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
การออกกลางคัน
การออกกลางคันในโรงเรียนอาชีวศึกษา
การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสาเหตุการออกกลางคันของนักศึกษากลุ่มเสี่ยง วิทยาลัยการอาชีพเซกา จังหวัด บึงกาฬ และ (2) ศึกษาแนวทางในการป้องกันการออกกลางคันของนักศึกษากลุ่มเสี่ยง วิทยาลัยการอาชีพเซกา จังหวัด บึงกาฬ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษากลุ่มเสี่ยง วิทยาลัยการอาชีพเซกา จังหวัดบึงกาฬ ปีการศึกษา 2559 จำนวน 49 คน ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามจำนวน 43 คน ผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ได้แก่ นักศึกษา จำนวน 6 คน มีอาจารย์ที่ปรึกษาจำนวน 6 คน รวมทั้งหมด 55 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับสาเหตุการออกกลางคันของนักศึกษากลุ่มเลี่ยง มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .94 และแบบสัมภาษณ์แนวทางในการป้องกันการออกกลางคันของนักศึกษากลุ่มเสี่ยง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาปรากฏว่า (1) การออกกลางคันของนักศึกษากลุ่มเสี่ยง มีสาเหตุจากด้านสถานศึกษา ด้านครูผู้สอนด้านหลักสูตรการเรียนการสอน ด้านนักศึกษา และด้านสภาพครอบครัวอยู่ในระดับมาก โดยพบว่า ด้านสภาพครอบครัวเป็นสาเหตุมากที่สุด ส่วนสาเหตุจากด้านสภาพแวดล้อม พบว่าเป็นสาเหตุการออกกลางคันอยู่ ในระดับปานกลาง และ (2) แนวทางในการป้องกันการออกกลางคันของนักศึกษากลุ่มเสี่ยง ได้แก่ (2.1) สถานศึกษาควรผ่อนผัน กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ควรสนับสนุนเครื่องมือ และครุภัณฑ์ทางการศึกษาให้เพียงพอ มีการจัดสวัสดิการและมีระบบติดตามดูแลช่วยเหลือนักศึกษาให้มีประสิทธิภาพ มีการรายงานข้อมูลสำคัญให้ผู้ปกครองรับทราบอย่างต่อเนื่องรวดเร็ว (2.2) ครูผู้สอนควรมีข้อมูลนักศึกษากลุ่มเสี่ยง ควรใช้ข้อมูลเพื่อหาทุนการศึกษา สำหรับนักเรียนที่มีฐานะยากจนและหารายได้ระหว่างเรียนได้ (2.3) หลักสูตรสถานศึกษาควรพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น และสถานประกอบการ มุ่งให้นักศึกษามีทักษะและประสบการณ์ตรงตามความต้องการของสถานประกอบการ ควรสนับสนุนให้ผู้เรียนได้เรียนตามความถนัด ได้เรียนตามแผนการเรียน มีการฝึกปฏิบัติทักษะการทำงานอย่างต่อเนื่องสมํ่าเสมอ และ (2.4) ควรมีการจัดรถรับส่งนักเรียน มีการจัดหอพักให้นักเรียน ที่มีฐานะยากจนแต่เรียนดี ขอความร่วมมือแหล่งอบายมุข สถานบันเทิงที่อยู่ใกล้สถานศึกษาและฝ่ายปกครองให้เคร่งครัดกับข้อกฎหมายเพื่อคัดกรองนักศึกษาไม่ให้มั่วสุมในสถานบันเทิงดังกล่าวและรบกวนการเรียนการสอน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5334
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
161904.pdf13.08 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons