Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5347
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสฤษดิ์พงษ์ ลิมปิษเฐียร, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorอัญชลี วงศ์ใหม่, 2521-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-04-03T15:10:50Z-
dc.date.available2023-04-03T15:10:50Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5347-
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตัวเองของข้าราชการครู (2) การเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของข้าราชการครู (3) การเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของข้าราชการครู จำแนกตามวิทยฐานะ และ (4) ความสัมพันธ์ระหว่างความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง กับการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของข้าราชการครูในสหวิทยาเขตเถินบุรินทร์ จังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการครูในสหวิทยาเขตเถินบุรินทร์ จังหวัดลำปาง จำนวน 181 คน ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน โดยแยกวิทยฐานะของข้าราชการครู คือข้าราชการครู ที่ไม่มีวิทยฐานะ 43 คน ข้าราชการครูวิทยฐานะชำนาญการ 57 คน และข้าราชการครูวิทยฐานะชำนาญการพิเศษขึ้นไป 81 คน โดยผู้ตอบแบบสอบถามกลุ่ม ผู้บริหารสถานศึกษาใข้วิธีเจาะจง สำหรับครูผู้สอนใช้ วิธีการสุ่มอย่างง่ายตามวิทยฐานะ เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบ สอบถามเกี่ยวกับความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของข้าราชการครู ซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ข้าราชการครูในสหวิทยาเขตเถินบุรินทร์ จังหวัดลำปาง ส่วนใหญ่มีความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) การเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของข้าราชการครูในสหวิทยาเขตเถินบุรินทร์ จังหวัดลำปาง โดยภาพรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมากเรียงตามลำดับ ได้แก่ ด้านวิสัยทัศน์ร่วม ด้านกระบวน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสะท้อนผลการปฏิบัติงาน ด้านการสร้างทีมเรียนรู้และเครือข่ายความร่วมมือ และด้านการใช้แหล่งเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและ สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ (3) การเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของข้าราชการครู ในสหวิทยาเขตเถินบุรินทร์ จังหวัดลำปาง จำแนกตามวิทยฐานะไม่แตกต่างกัน และ (4) ความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตัวเองมีความสัมพันธ์ทางบวกทุกด้านกับการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของข้าราชการครู ในสหวิทยาเขตเถินบุรินทร์ จังหวัดลำปาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceReformated digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพth_TH
dc.subjectครู--การพัฒนาบุคลากรth_TH
dc.subjectการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษาth_TH
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองกับการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของข้าราชการครูในสหวิทยาเขตเถินบุรินทร์ จังหวัดลำปางth_TH
dc.title.alternativeThe relationship between self-directed learning readiness and being professional learning community of teachers in Thoenburin School Consortium in Lampang Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to study (1) self-directed learning readiness of teachers, (2) being professional learning community of teachers, (3) being professional learning community of teachers as classified by academic status, and (4) the relationship between self-directed learning readiness and being professional learning community of teachers in Thoenburin School Consortium in Lampang province. The research sample consisted of 181school personnel (school administrators and teachers) of Thoenburin School Consortium in Lampang province, classified into 43 school personnel at the practitioner level, 57 school personnel at the professional level, and 81 school personnel at the senior professional level. School personnel who were administrators were purposively selected, while school personnel who were teachers were obtained by stratified random sampling based on their professional status. The employed research instrument was a questionnaire on self-directed learning readiness and being professional learning community of teacher, with reliability coefficient of 0.98. Statistics used in data analysis were the frequency, percentage, mean, standard deviation, one-way analysis of variance, and Pearson's correlation. The research results showed that (1) the overall self-directed learning readiness of the majority of teachers in Thoenburin School Consortium in Lampang province was at the high level; (2) all four aspects of being professional learning community of teachers in Thoenburin School Consortium in Lampang province was at the high level and could be ranked based on their rating means from top to bottom as follows: the aspect of shared vision, the aspect of process of exchanging knowledge and reflection of work performance outcomes, the aspect of creating learning teams and cooperation networks, and the aspect of using learning resources, information technology and creating the environment conducive to learning, respectively; (3) teachers in Thoenburin School Consortium in Lampang province with different professional statuses did not significantly differ in their levels of being professional learning community; and (4) self-directed learning readiness of teachers in Thoenburin School Consortium in Lampang province correlated positively with all aspects of being professional learning community, which were at the .01 level of statistical significance.en_US
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
161421.pdf14.35 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons