Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5354
Title: การส่งเสริมเพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร ตำบลตาเนิน อำเภอเนินสง่า จังหวัดชัยภูมิ
Other Titles: An extension for reducing cost of Khoa Dawk Mali 105 Rice producing of farmers in Ta Noen Sub-district, Noen Sa-nga District, Chaiyaphum Province
Authors: จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สราลี ภูสวัสดิ์เจริญ, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
ข้าว--ต้นทุนการผลิต
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางด้านสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) การผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร 3) ต้นทุนการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร 4) ความต้องการและแนวทางการส่งเสริมเพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรสมาชิกนาแปลงใหญ่ ตำบลตาเนิน อาเภอเนินสง่า จังหวัดชัยภูมิ ที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวกับกรมส่งเสริมการเกษตรในปีเพาะปลูก 2561/62 จำนวน 260 ราย กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรทาโร่ยามาเน่ ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่าง 158 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยการจับสลากการวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 63.3 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 51.50 ปี จบชั้นประถมศึกษา สมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 4.05 คน รายได้จากการทำนาเฉลี่ย 67,067.72 บาท/ปี ปลูกข้าวเฉลี่ย 16.18 ไร่ ประสบการณ์ในการปลูกข้าวเฉลี่ย 23.33 ปี ผลผลิตข้าวเฉลี่ย 360.25 กิโลกรัม/ไร่ จ้างแรงงานเฉลี่ย 1.79 คน 2) เกษตรกรปรับปรุงบารุงดินด้วยการไถกลบตอซัง เตรียมดินหว่านข้าวแห้ง ไถดะ และไถแปร เตรียมเมล็ดพันธุ์ด้วยการเก็บเมล็ดพันธุ์เอง และจากทางราชการ ใช้เมล็ดพันธุ์ 21-25 กิโลกรัม/ไร่ ปลูกข้าว ด้วยวิธีหว่านข้าวแห้ง ใช้น้ำฝน ใส่ปุ๋ยเคมีจำนวน 2 ครั้ง โดยใส่ปุ๋ยตามหลักวิชาการ กำจัดวัชพืชโดยใช้แรงงานคน ใช้รถเกี่ยว และจัดเก็บไว้ในยุ้งฉางตนเอง 3) ต้นทุนในการผลิตข้าวเฉลี่ยทั้งสิ้น 5,037.38 บาท/ไร่ โดยมีต้นทุนเฉลี่ยสูงสุด 4 รายการ ได้แก่ ค่าแรงเก็บเกี่ยว (675.63 บาท) ค่าปุ๋ยเคมี (657.69 บาท) ค่าเตรียมดิน (642.62 บาท) และค่าเมล็ดพันธุ์ (523.67 บาท) ตามลำดับ 4) เกษตรกรต้องการความรู้เพื่อลดต้นทุนในระดับมาก ผ่านสื่อบุคคลจากหน่วยงานราชการ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ คือ วีดิทัศน์ ต้องการใช้สื่อสิ่งพิมพ์ที่เป็นโปสเตอร์ ในระดับปานกลาง และต้องการวิธีการส่งเสริม ด้วยการฝึกปฏิบัติ ในระดับมาก แนวทางการส่งเสริมเพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร คือ นักส่งเสริม นักวิชาการ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรนำความรู้ไปส่งเสริมให้เกษตรกรลดต้นทุนการผลิตโดยเฉพาะค่าแรงเก็บเกี่ยว ค่าปุ๋ยเคมี ค่าเตรียมดิน และค่าเมล็ดพันธุ์ การให้คำปรึกษา เสนอแนะวิธีการปฏิบัติในทุกประเด็น และส่งเสริมมาตรการลดต้นทุนการผลิตข้าว
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5354
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.55 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons