Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5364
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorบำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorเบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorชนันชิดา คิดรอบ, 2526--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-04-04T03:39:41Z-
dc.date.available2023-04-04T03:39:41Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5364-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนของเกษตรกร 2) ความรู้และแหล่งความรู้การผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนของเกษตรกร 3) ความคิดเห็นและแรงจูงใจของเกษตรกรต่อการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน 4) การยอมรับในเชิงความคิดเห็นและเชิงปฏิบัติในการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนของเกษตรกร 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนของเกษตรกร 6) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนของเกษตรกร ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ เกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกปาล์มน้ำมันที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกระบี่ ปี 2562 จำนวน 2,030 ครัวเรือน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรทาโร่ ยามาเน่ที่ค่าความคาดเคลื่อน 0.07 ได้จำนวน 186 ราย ทำการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดอันดับ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการวิจัย พบว่า เกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 50.29 ปี มีประสบการณ์ในการทำสวนปาล์มน้ามันเฉลี่ย 13.53 ปี มีรายได้จากปาล์มน้ำมันเฉลี่ย 13,703.49 บาทต่อเดือน มีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันเฉลี่ย 17.28 ไร่ 1) สภาพการผลิตปาล์มน้ำมัน เกษตรส่วนมากใช้ปาล์มน้ำมันพันธุ์เทเนอรา อายุต้นปาล์มน้ำมันเฉลี่ย 12.44 ปี ส่วนมากมีค่าตอบแทนแรงงานตามข้อตกลงการจ้างงาน เกษตรกรทั้งหมดมีการใช้ปุ๋ย ปริมาณผลผลิตทะลายปาล์มน้ำมันสดเฉลี่ย 3.07 ตันต่อไร่ ส่วนมากไม่มีการจดบันทึกบัญชีฟาร์ม 2) ความรู้เกี่ยวกับการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนของเกษตรกรอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะความรู้ด้าน RSPO เป็นมาตรฐานที่ต้องดำเนินการตามวิธีปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) รองลงมาคือความรู้ด้านการวางแผนการพัฒนาพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันใหม่ แหล่งที่ได้รับความรู้เกี่ยวกับการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนอยู่ในระดับน้อย โดยแหล่งความรู้ที่ได้รับมากกว่าแหล่งอื่น ๆ คือ แหล่งความรู้ที่ได้รับจากสื่อกิจกรรม 3) ความคิดเห็นต่อการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนของเกษตรกรด้านสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือความคิดเห็นด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม แรงจูงใจในการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนของเกษตรกร คือ ผลผลิตปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้น มีแหล่งรองรับผลผลิตที่แน่นอน และการได้รับความรู้ 4) เกษตรกรยอมรับในเชิงความคิดเห็นและในเชิงปฏิบัติเกี่ยวกับการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนด้านหลักการความเคารพในสิทธิมนุษยชน สิทธิและสภาพแวดล้อมสำหรับลูกจ้างในระดับมาก โดยเฉพาะการไม่ใช้แรงงานจากการบังคับ 5) ในภาพรวมเกษตรกรมีปัญหาระดับปานกลาง โดยเฉพาะปัญหาด้านการผลิต เกษตรกรมีข้อเสนอแนะคือ ควรส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติเพื่อได้รับมาตรฐาน RSPO ส่งเสริมการบริหารจัดการกลุ่ม และส่งเสริมความรู้ในการบริหารจัดการสวนปาล์มน้ำมัน 6) ปัจจัยด้านพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน การได้รับสื่อออนไลน์ ระดับปัญหาด้านความรู้ และด้านการผลิตมีความสัมพันธ์กับการการยอมรับในเชิงความคิดเห็นในการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน ขณะที่ปัจจัยด้านจำนวนหนี้สิน และระดับปัญหาอื่น ๆ มีความสัมพันธ์กับการยอมรับในเชิงปฏิบัติในการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectปาล์มน้ำมัน--ไทย--กระบี่--การผลิต.th_TH
dc.titleการยอมรับการผลิตปาล์มน้ำมันตามมาตรฐานการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนของเกษตรกรในอำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่th_TH
dc.title.alternativeAdoption of oil palm production according to roundtable on sustainable palm oil standards of farmers in Mueang Krabi district, Krabi Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to study 1) sustainable oil palm production conditions of farmers 2) knowledge and knowledge resources in sustainable oil palm production of farmers 3) opinions and motivation of farmers towards sustainable oil palm production 4) the adoption in the opinion and practice in sustainable oil palm production of farmers 5) problems and suggestions in the extension of sustainable oil palm production of farmers 6) factors relating to the adoption of sustainable oil palm production of farmers. The population of this research was 2,030 households of small farmers who registered as oil palm production farmers with Mueang Krabi district agricultural office in the year 2019. The sample size of 186 people was determined by using Taro Yamane formula with the error value of 0.07 and simple random sampling method. Data was collected through conducting interview and was analyzed by using frequency, percentage, minimum value, maximum value, mean, standard deviation, ranking, and multiple regression. The results of the research showed that the average age of farmers was 50.29 years with the average experience in oil palm production of 13.53 years. The average income from oil palm production was 13,703.49 Baht per month with the average oil palm production area of 17.28 Rai. 1) Regarding the oil palm production condition, it revealed that most of the farmers used Tenera oil palm tree with the average oil palm tree age of 12.44 years. Most of the farmers received wages according to hiring agreement. All of the farmers used fertilizer. The average oil palm products quantity was 3.07 ton per Rai and mostly did not record farm accounting. 2) The knowledge about sustainable oil palm production was at the high level especially about the knowledge in RSPO as the standard that must be complied according to the Good Agricultural Practice (GAP). Second to that was the knowledge about development plan for new oil palm production area. The knowledge resource about sustainable oil palm production was at the low level with the knowledge resource received more than other resources were from activity media. 3) The opinion towards sustainable oil palm production of farmers about the environmental aspect was at the high level. Second to that was the opinion about economic and social aspects. The motivations in sustainable oil palm production of farmers were the increase in oil palm productivity, the firm distribution market, and knowledge receiving. 4) Farmers accepted in opinion and practice aspects about sustainable oil palm production. In term of the respect to human rights, employee right and environment were at the high level especially on voluntary labor. 5) Overall, farmers faced with the problem at the moderate level especially about the production problem. Farmers suggested that there should be the knowledge extension regarding practice guideline in order to receive the RSPO certification, promotion on group management, and knowledge extension in oil palm production management. 6) Factors relating to oil palm production area, the receiving of online media, level of problem regarding knowledge, and that production aspect was related to the acceptance in the opinion in sustainable oil palm production while factors regarding debt amount and level of other problems had the relationship with the acceptance in term of practice in sustainable oil palm productionen_US
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม24.57 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons